สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาแชร์ความรู้แก่เพื่อนๆ เรื่องระบบโครงสร้างหนึ่งที่เรานิยมนำใช้ในการต้านทานแรงกระทำจากการสั่นไหวเนื่องจากการเกิดแผ่นดินไหวของอาคารที่เราทำการออกแบบนะครับ คาดว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อๆ เพื่อนๆ และ น้องๆ หลายๆ คนที่มีความสนใจในประเด็นๆ นี้อยู่นะครับ
ระบบที่ว่านี้ก็คือ ระบบโครงแกงแนง หรือ BRACED FRAME SYSTEM นั่นเองนะครับ
โดยระบบๆ นี้ก็คือ การนำเจ้าโครงแกงแนง หรือ โครงค้ำยัน หรือ ที่เรานิยมเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า BRACING นั้นมาช่วยในการค้ำยันตัวโครงสร้างเพื่อให้โครงสร้างของเรานั้นมี ความแข็งแรง และ มีเสถียรภาพ ที่สูงยิ่งขึ้น
ดังนั้นเราสามารถนำระบบ BRACING นี้ไปใช้ประโยชน์ได้ในหลายๆ ระบบ FRAME ของอาคารเลยนะครับ ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่ระบบ FRAME นี้มีเจ้า BRACING นี้ใส่เข้าไปเมื่อใด เราก็มักที่จะนิยามลักษณะของโครงสร้างนั้นๆ ว่าเป็นระบบ BRACED FRAME SYSTEM นะครับ โดยข้อดีประการหนึ่งของระบบๆ นี้ คือ เราสามารถที่จะประยุกต์ใช้เจ้า BRACING นี้เข้าไปใช้ในโครงสร้างที่ทำขึ้นจาก คสล หรือ เหล็ก ก็ได้นะครับ
จุดประสงค์ในการใส่เจ้าตัว BRACING นี้เข้าไปในโครงสร้าง FRAME ก็เพื่อ
(A) ลดการเสียรูปทางด้านข้าง (HORIZONTAL DISPLACEMENT) ของโครงสร้างอันเนื่องมาจากแรงกระทำทางด้านข้าง (HORIZONTAL FORCE) เช่น แรงลม (WIND LOAD) หรือ แรงแผ่นดินไหว (SEISMIC LOAD) เป็นต้น ที่อาจมีโอกาสจะเกิดขึ้นในอาคารที่เราทำการออกแบบ
(ดูรูปที่แนบมาประกอบคำอธิบายได้นะครับ)
(B) เป้าหมายในการสร้างกลไกการสลายพลังงาน (ENERGY DISSIPATION) จากการเกิดแรงกระทำจากแผ่นดินไหวให้เกิดขึ้นในตัวของโครงสร้างนั่นเองครับ
(หากมีเวลา และ โอกาสหน้านั้นอำนวย ผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายรายละเอียดเรื่องนี้เพิ่มเติมอีกครั้งละกันนะครับ)
เราสามารถที่จะจำแนก ชนิด และ ประเภท ของโครงแกงแนงออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
(1) CONCENTRIC BRACED FRAME
(2) ECCENTRIC BRACED FRAME
โดยที่ CONCENTRIC BRACED FRAME ก็คือ BRACED FRAME ที่มีการค้ำยันแบบตรงแนวศูนย์ของชิ้นส่วนโครงสร้าง เช่น การค้ำยันแบบ INVERTED V BRACED การค้ำยันแบบ CONCENTRIC X หรือ CROSS BRACED การค้ำยันแบบ CONCENTRIC DIAGONAL BRACED เป็นต้น
สำหรับเจ้า ECCENTRIC BRACED FRAME ก็คือ BRACED FRAME ที่มีค้ำยันแบบไม่ตรงแนวศูนย์ของชิ้นส่วนโครงสร้าง เช่น การค้ำยันแบบ INVERTED U BRACED การค้ำยันแบบ ECCENTRIC X หรือ CROSS BRACED การค้ำยันแบบ ECCENTRIC DIAGONAL BRACED เป็นต้น
โดยที่เจ้า ECCENTRIC BRACED FRAME นี้เรามักจะพบว่าจะมีอีก 1 ชิ้นส่วนโครงสร้างที่เพิ่มเติมขึ้นก็คือ STRUCTURAL FUSE REGION ซึ่งชิ้นส่วนนี้เองครับ คือ กลไกสำคัญที่จะทำให้เกิดการ DISSIPATE พลังงานอันเนื่องมาจากแรงกระทำทางด้านข้างจากแผ่นดินไหวให้แก่โครงสร้างของเรานะครับ
ในวันนี้ผมได้ปูพื้นฐานแก่เพื่อนๆ ให้ได้เข้าใจกันพอสังเขปถึงเรื่องระบบโครงสร้างโครงแกงแนง หรือ BRACED FRAME กันไปบ้างแล้วนะครับ ในวันพรู่งนี้ผมจะขออนุญาตมาตอบคำถามของน้องวิศวกรท่านที่ฝากคำถามมายังผมก่อนหน้านี้ พร้อมกับการ ยก ตย ถึงเรื่องการใช้งานเจ้าโครงแกงแนงนี้ในการทำงานจริงๆ กันบ้างนะครับ เพื่อนๆ ท่านใดสนใจก็สามารถที่จะติดตามกันได้นะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com