สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
ปัญหานี้จะพบได้ในงานออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กและงานวิศวกรรมโครงสร้างเหล็กเป็นหลัก ซึ่งจริงๆ แล้วปัญหาที่ผมหยิบยกนำมาเสวนากับเพื่อนๆ ในวันนี้จะไม่เกิดขึ้นเลยหากว่าผู้ออกแบบนั้นมีความรู้และความเข้าใจในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างเสาที่ดีเพียงพอ นั่นก็คือ ปัญหาการที่ผู้ออกแบบนั้นมักจะทำการออกแบบรายละเอียดของส่วนโครงสร้างเสา โดยที่ไม่มีการคำนึงถึงให้โครงสร้างเสาต้นนั้นๆ สามารถที่จะรับโมเมนต์ดัดที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ไม่มีการคำนึงถึงเรื่องระยะเยื้องศูนย์ของแรงกระทำตามแนวแกนภายในเสาต้นนั้นๆ เลยนั่นเองครับ
ปัญหานี้เสมือนเป็นปัญหาโลกแตกสำหรับคนที่ทำอาชีพการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างของอาคารเลยก็ว่าได้ ซึ่งโดยมากเราอาจจะพบปัญหาๆ นี้ในงานออกแบบอาคารที่มีขนาดเล็กหรือไม่ได้มีขนาดอะไรใหญ่โตมากนัก เช่น งานอาคารบ้านเรือนหรืองานตึกแถวทั่วๆ ไป เป็นต้นครับ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ในการออกแบบโครงสร้างพวกนี้ผู้ออกแบบมักจะทำการออกแบบเสาโดยวิธีการรวมน้ำหนักจากพื้นที่รับผิดชอบของเสาหรือ TRIBUTARY AREA ซึ่งหากเป็นอาคารที่มีคุณสมบัติทั่วๆ ไปก็มักจะไม่เกิดปัญหาอะไร เช่น ความสูงและช่วงพาดของพื้นหรือคานภายในอาคารนั้นๆ ไม่ได้ถือว่ามากมายอะไรนัก เสาภายในอาคารนั้นๆ ถือได้ว่าเป็นเสาสั้นหรืออาจจะมีเสายาวปะปนอยู่บ้างแต่สัดส่วนของจำนวนของเสายาวนั้นถือได้ว่ามีน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนของเสาสั้น เมื่อพิจารณาดูแล้วพบว่าอาคารนั้นๆ จะมีลักษณะรูปทรงขององค์อาคารที่ค่อนข้างมีความสม่ำเสมอในทุกๆ แกน เป็นต้น
สาเหตุหนึ่งที่ผู้ออกแบบมักจะใช้วิธีการๆ นี้ออกแบบก็เป็นเพราะว่า ผู้ออกแบบมองว่าโครงสร้างของอาคารในลักษณะข้างต้นนั้นค่อนข้างมีความตรงไปตรงมา ไม่ได้มีความสลับซับซ้อนอะไร จึงทำให้เลือกใช้วิธีในการออกแบบอย่างง่าย ไม่เลือกใช้วิธีการใดๆ ที่ยุ่งยากมากจนเกินไป เช่น ใช้ซอฟต์แวร์ทาง FINITE ELEMENT ในการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้าง เป็นต้น ซึ่งอย่างที่ผมเรียนไปครับว่า หากว่าอาคารนั้นๆ มีคุณสมบัติตามที่ผมกล่าวถึงข้างต้นก็ต้องถือว่าเจ้าของอาคารนั้นๆ โชคดีไปแต่เพื่อนๆ ต้องไม่ลืมนะครับว่า หากว่าอาคารของเราไม่ได้มีคุณสมบัติเฉกเช่นดังที่ผมได้ยกตัวอย่างไปก็เป็นเรื่องน่าเป็นห่วงเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งว่าหากว่าอาคารนั้นๆ ถือได้ว่าเป็น “อาคารสาธารณะ” ด้วยแล้วยิ่งมีความน่าเป็นห่วงมากๆ เลยนะครับ
กรณีศึกษาหนึ่งที่ผมได้เลือกที่จะหยิบยกและนำเอามาเล่าสู่กันฟังแก่เพื่อนๆ ในวันนี้คือ กรณีของอาคารสาธารณะแห่งหนึ่งที่ตัวของผมนั้นทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการทำงาน ซึ่งเพื่อนๆ จะเห็นได้จากในรูปเหล่านี้นะครับว่า อาคารหลังนี้มีการติดตั้งด้วยบัว คสล ที่บริเวณด้านริมทั้งสองฝั่งของอาคารเต็มไปหมดเลย ซึ่งขนาดและน้ำหนักของบัวเหล่านี้ต้องถือว่าไม่น้อยเลยทีเดียวและแน่นอนว่าชิ้นส่วนเหล่านี้ไม่ได้มีการติดตั้งให้ตรงกับแกนศูนย์กลางของเสาเลยแต่กลับมีการติดตั้งที่เยื้องศูนย์ให้มีระยะห่างออกไปจากแกนของเสา คสล อย่างเห็นได้ชัดเลย
จะเห็นได้ว่าหากตัวผมในฐานะของผู้ทำการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างของอาคารหลังนี้ ไม่ตัดสินใจทำการออกแบบให้โครงสร้างเสา คสล ของอาคารหลังนี้ต้องทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักเยื้องศูนย์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้แล้ว อันตรายในระดับไหนที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับส่วนโครงสร้างของอาคารเหล่านี้ได้บ้าง แทบจะไม่มีใครอยากจะคาดคิดหรือคำนึงถึงผลที่อาจจะตามมาเลยด้วยซ้ำไปนะครับ
เอาเป็นว่าสำหรับวันนี้ผมขออนุญาตสรุปสั้นๆ ดังนี้ก็แล้วกันนะครับ หากเพื่อนๆ ได้มีโอกาสทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างในอาคารใดๆ ก็แล้วแต่ ก่อนเริ่มต้นทำการออกแบบได้โปรดทำการพิจารณารายละเอียดต่างๆ ของแบบร่วมกับทางสถาปนิกให้ถี่ถ้วนเสียก่อน อย่าเพิ่งรีบสรุปว่าอาคารนั้นสามารถออกแบบได้โดยง่ายหรือรีบสรุปว่าไม่มีความสลับซับซ้อนใดๆ ในงานออกแบบเลย เพราะหากเกิดความผิดพลาดใดๆ ถึงแม้จะเป็นความผิดพลาดที่ถือได้ว่าเล็กๆ น้อยขนาดไหนก็ตามเกิดขึ้นมา ไม่มีทางเลยที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดที่จะสามารถรับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินของอาคารและผู้ใช้งานอาคารหลังนั้นๆ ได้เลยนะครับ
ในสัปดาห์หน้าผมจะขออนุญาตหยิบยกนำเอากรณีศึกษาที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องราวต่างๆ ในวันนี้มาทำการอธิบายและพูดต่อกันอีกสักหนึ่งสัปดาห์ก็แล้วกันนะครับ หากว่าเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามบทความนี้ของผมกันได้นะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ
#ปัญหาการที่ผู้ออกแบบทำการออกแบบรายละเอียดของส่วนโครงสร้างเสาโดยไม่มีการคำนึงถึงให้โครงสร้างเสานั้นสามารถที่จะรับโมเมนต์ดัดที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com