สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างเชิงพลศาสตร์ต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
โดยที่หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกับเรื่อง วิธีการวิเคราะห์แรงแผ่นดินไหวแบบใดที่จะมีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างของเราเพื่อที่จะให้สามารถต้านทานต่อแรงกระทำจากแผ่นดินไหวได้นะครับ
ก่อนอื่นผมขอทวนเนื้อหาก่อนสักเล็กน้อยเกี่ยวกับเรื่องวิธีในการวิเคราะห์แรงกระทำจากแผ่นดินไหว ว่าเราจะสามารถทำการแบ่งออกได้เป็น 4 วิธีการหลักๆ ด้วยกันนั่นก็คือ
- LINEAR-STATIC ANALYSIS หรือ ชื่อที่ พวกเราคุ้นเคยกันดีนั่นก็คือ EQUIVALENT FORCE ANALYSIS
- LINEAR-DYNAMIC ANALYSIS หรือ ชื่อที่ พวกเราคุ้นเคยกันดีนั่นก็คือ ELASTIC RESPONSE SPECTRUM ANALYSIS
- NONLINEAR-STATIC ANALYSIS หรือ ชื่อที่ พวกเราคุ้นเคยกันดีนั่นก็คือ PUSHOVER ANALYSIS
- NONLINEAR-DYNAMIC ANALYSIS หรือ ชื่อที่ พวกเราคุ้นเคยกันดีนั่นก็คือ NONLINEAR TIME HISTORY ANALYSIS
โดยที่ผมจะขออนุญาตทำการเล่าให้ฟังทีละวิธีการ โดยที่ผมจะทำการอธิบายถึง ข้อดี และ ข้อด้อย ของการเลือกใช้งานแต่ละวิธีการไปก็แล้วกันนะครับ
- วิธีการ LINEAR-STATIC ANALYSIS หรือ EQUIVALENT FORCE ANALYSIS
ข้อดี ของวิธีการนี้คือ ภายในขั้นตอนของการคำนวณและวิเคราะห์โครงสร้างนั้นแสนจะมีความง่ายดาย และ ยังสามารถที่จะทำได้ด้วยความรวดเร็วอีกต่างหากนะครับ
ส่วนข้อด้อย ของวิธีการนี้คือ หากเลือกใช้วิธีการนี้ในการวิเคราะห์โครงสร้างมันก็จะเป็นการวิเคราะห์โครงสร้างแบบที่ไม่เป็นการพิจารณาการตอบสนองเชิงพลศาสตร์ของโครงสร้างเท่าใดนัก มิหนำซ้ำในการวิเคราะห์เรายังไม่สามารถที่จะทำการตั้งสมมติฐานได้ว่าโครงสร้างนั้นมีพฤติกรรมที่อยู่ในช่วงไม่ยืดหยุ่นได้ หรือ ในขณะที่ทำการวิเคราะห์โครงสร้างเราจะไม่สามารถทำการตั้งสมมติว่าวัสดุนั้นเกิดความเสียหายได้ ซึ่งในที่สุดก็จะทำให้ผลที่ได้จากการวิเคราะห์โครงสร้างนั้นมีความถูกต้องอยู่ในระดับที่ต่ำถึงต่ำมากๆ เลยละครับ
- วิธีการ LINEAR-DYNAMIC ANALYSIS หรือ ELASTIC RESPONSE SPECTRUM ANALYSIS
ข้อดี ของวิธีการนี้คือ เราจะสามารถทำการพิจารณาค่าการตอบสนองเชิงพลศาสตร์ได้ภายในขั้นตอนการวิเคราะห์โครงสร้างเลย อีกทั้งเรายังสามารถที่จะทำการรวมผลของการเสียรูปของโครงสร้างได้ในหลากหลายรูปแบบอีกด้วย และ เราสามารถที่จะทำการพิจารณาค่าการหน่วง หรือ DAMPING ของโครงสร้างเพื่อนำมาใช้ในขั้นตอนของการวิเคราะห์โครงสร้างได้อีกด้วยนะครับ
ส่วนข้อด้อย ของวิธีการนี้จะมีความละม้ายคล้ายคลึงกันกับวิธีการที่1 นั่นคือ เราไม่สามารถที่จะทำการตั้งสมมติฐานในการวิเคราะห์โครงสร้างได้ว่าโครงสร้างของเรานั้นมีพฤติกรรมที่อยู่ในช่วงไม่ยืดหยุ่นได้ และ มักที่จะพบว่าผลที่ได้จากการวิเคราะห์โครงสร้างนั้นมีความแตกต่างออกไปจากวิธีการรวมผลการเสียรูปในหลากหลายรูปแบบที่มีความแตกต่างกันอีกด้วยนะครับ
- วิธีการ NONLINEAR-STATIC ANALYSIS หรือ PUSHOVER ANALYSIS
ข้อดี ของวิธีการนี้คือ เราสามารถที่จะทำการตั้งสมมติฐานในการวิเคราะห์โครงสร้างได้ว่าโครงสร้างของเรานั้นมีพฤติกรรมที่อยู่ในช่วงไม่ยืดหยุ่น หรือ สามารถที่จะตั้งสมมติฐานว่า วัสดุ นั้นเกิดความเสียหายได้ ทั้งนี้เรายังสามารถที่จะทำการพิจารณาผลจากค่าการเสียรูปที่มีค่ามากๆ ได้ หรือ ที่เรานิยมเรียกกันว่า ผลกระทบจากการเกิด P-∆ นะครับ
ส่วนข้อด้อย ของวิธีการนี้คือ ขั้นตอนในการวิเคราะห์นั้นจะค่อนข้างมีความซับซ้อนมากพอสมควร และ เนื่องจากการที่เราจะต้องวิเคราะห์โครงสร้างในลักษณะคล้ายๆ กับการ ผลักโครงสร้าง นั้นจะเป็นไปในรูปแบบทิศทางเดียว จึงทำให้ผลของการวิเคราะห์โครงสร้างนั้นจะเป็นแบบที่ไม่เป็นการพิจารณาการตอบสนองเชิงพลศาสตร์ของโครงสร้าง ซึ่งก็จะมีความคล้ายคลึงกันกับวิธีการที่ 1 อีกทั้งวิธีการนี้ถือได้ว่าเป็นการกระตุ้นโครงสร้างด้วยแรงในทิศทางเดียว หรือ พูดง่ายๆ คือโครงสร้างจะเกิดการเสียรูปในแบบเพียงแบบเดียวเท่านั้น และ หากเลือกวิธีการวิเคราะห์โครงสร้างวิธีการนี้จะพบว่ามีหลากหลายวิธีการสำหรับการหาค่าแรงที่กระจายตัวในแต่ละชั้นของอาคาร และ ก็ยังให้ผลการวิเคราะห์โครงสร้างที่ต้องถือได้ว่ามีความแตกต่างกันมากอีกด้วยนะครับ
- วิธีการ NONLINEAR-DYNAMIC ANALYSIS หรือ NONLINEAR TIME HISTORY ANALYSIS
ข้อดี ของวิธีการนี้คือ เราจะสามารถทำการพิจารณาค่าการตอบสนองเชิงพลศาสตร์ได้ภายในขั้นตอนการวิเคราะห์โครงสร้างได้ ทั้งนี้เรายังสามารถที่จะทำการตั้งสมมติฐานในการวิเคราะห์โครงสร้างได้ว่าโครงสร้างของเรานั้นมีพฤติกรรมที่อยู่ในช่วงไม่ยืดหยุ่นได้ อีกทั้งเรายังสามารถที่จะทำการพิจารณานำค่าการหน่วง หรือ DAMPING ของโครงสร้างเพื่อนำมาใช้ในขั้นตอนของการวิเคราะห์โครงสร้างได้อีกด้วย และ ผลจากการวิเคราะห์โครงสร้างจะทำให้ได้ค่าต่างๆ ในขณะที่เกิดการเสียรูปซึ่งเกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาจริงๆ ได้ เช่น ค่าการเคลื่อนตัวทางด้านข้าง ค่าความเร็ว ค่าความเร่ง เป็นต้น
ส่วนข้อด้อย ของวิธีการนี้คือ ขั้นตอนในการวิเคราะห์นั้นจะถือได้ว่ามีความละเอียดและซับซ้อนมากๆ แทบจะไม่สามารถทำการคำนวณได้ด้วยมือเปล่าได้ ต้องอาศัยระบบสมองกลต่างๆ เช่น เครื่องคิดเลขทางวิทยาศาสตร์แบบที่สามารถเขียนโปรแกรมได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ดังนั้นวิศวกรที่จะต้องทำการคำนวณจำเป็นที่จะต้องมีความสามารถในการเขียนโปรแกรมอยู่ในระดับที่สูงพอสมควร เพราะ การวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีการนี้จำเป็นที่จะต้องมีการป้อนข้อมูลที่เป็นตัวแปรจำนวนมาก และ การแปรผลจากการวิเคราะห์โครงสร้างเองก็ไมได้มีความตรงไปตรงมาเท่าใดนัก มีความซับซ้อนมากพอสมควรเลยละครับ
เอาเป็นว่า วิธีการแต่ละวิธีการนั้นก็จะมี ข้อดีข้อเด่น และ ข้อเสียข้อด้อย ของแต่ละวิธีการอยู่ ดังนั้นหากเราจะต้องทำการวิเคราะห์โครงสร้างแรงแผ่นดินไหวให้แก่แบบจำลองโครงสร้างของเรา เราก็ควรที่จะ เลือก ใช้งานวิธีการใดวิธีการหนึ่งที่มีความ เหมาะสม และ สอดคล้อง กันกับจุดประสงค์ในการนำผลการวิเคราะห์โครงสร้างไปใช้ให้มากที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้ผลจากการวิเคราะห์โครงสร้างของเรานั้นออกมามีความถูกต้องและใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด เกิดความผิดพลาดในการวิเคราะห์โครงสร้างในปริมาณที่น้อยที่สุด และ ยังอาศัยทรัพยากรในปริมาณและคุณภาพเท่าที่มีความจำเป็นจริงๆ ในการวิเคราะห์โครงสร้าง ทั้งนี้ก็เพื่อให้การออกแบบให้โครงสร้างของเรานั้นสามารถที่จะรับแรงกระทำจากแผ่นดินไหวของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดนั่นเองครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#การออกแบบวิศวกรรมโครงสร้างต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหว
#การเปรียบเทียบวิธีในการวิเคราะห์แรงแผ่นดินไหว
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com