สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
วันนี้ผมจะมาทำการขยายความคำตอบจากคำถามของเพื่อนสมาชิกของพวกเราท่านหนึ่งที่ได้กรุณาฝากคำถามเข้าในเพจส่วนตัวของผมโดยมีใจความว่า
“พี่ครับ บ้านผมอยู่จังหวัด ……… (จังหวัดหนึ่งทางภาคอีสาน) หากที่บ้านของผมเค้าอยากจะทำการก่อสร้างพื้นตรงบริเวณโรงจอดรถที่มีหลังคาคลุม ไม่ทราบว่าผมจะต้องบอกให้ทางพี่ ผรม ทำการเทพื้นหนาเท่าไหร่ดีและควรจะต้องเสริมด้วยเหล็กขนาดเท่าใดและกำหนดให้มีระยะห่างเท่าใดดีครับ ?”
ซึ่งผมก็ได้ตอบไปว่าในเมื่อพื้นๆ นี้จะถูกใช้เป็นพื้นบริเวณโรงจอดรถที่มีหลังคาคลุม ดังนั้นก็เท่ากับว่าพื้นๆ นี้จะไม่ได้มีโอกาสสัมผัสกับอากาศภายนอกโดยตรง หรือ พื้นๆ นี้จะไม่มีโอกาสสัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่มีความรุนแรงใดๆ ตลอดอายุการใช้งาน อีกทั้งการก่อสร้างก็ทำอยู่ในจังหวัดทางภาคอีสาน หากว่าลักษณะของดินนั้นเป็นดินเดิมที่ค่อนข้างมีความแข็งแรงเป็นปกติ ผมก็ขอให้คำแนะนำให้ใช้เป็น พื้นวางบนดิน หรือ SLAB ON GRADE ได้เลย โดยให้ทำรอยต่อระหว่างแผ่นพื้นทุกๆ ระยะ 6 เมตร คูณ 6 เมตร โดยให้ใช้คอนกรีตผสมเสร็จชินธรรมดาทั่วๆ ไปที่สามารถจะทำการสั่งซื้อได้จากโรงงานผลิตคอนกรีต โดยที่ผมขอให้ใช้คอนกรีตที่มีค่ากำลังอัดประลัยของตัวอย่างรูปทรงกระบอกมาตรฐานที่อายุ 28 วันเท่ากับ 210 KSC โดยความหนาของแผ่นพื้นเท่ากับ 275 มม และ ไม่ต้องเสริมเหล็กใดๆ ในแผ่นพื้นเลย ……
ใช่ครับ เพื่อนๆ อ่านไม่ผิดครับ ผมเขียนว่า “ไม่ต้อง” เสริมเหล็กใดในแผ่นพื้นเลยครับ
โดยสืบเนื่องจากในการโพสต์ครั้งที่ผ่านมานั้นซึ่งผมก็ได้รับปากกับเพื่อนๆ ไปว่าในวันนี้ผมจะมาทำการขยายความให้กับเพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบถึงเหตุผลและสาเหตุนะครับว่า เพราะเหตุใดเราจึงสามารถที่จะเลือกไม่ทำการเสริมเหล็กใดๆ ในแผ่นพื้นเหมือนกรณีที่ผมได้ทำการตอบคำถามของแฟนเพจไปในการโพสต์ครั้งที่แล้วนะครับ
เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ ผมจะทำการอธิบายโดยใช้วิธีการการยกตัวอย่างให้แก่เพื่อนๆ เลยก็แล้วกัน โดยที่ผมก็จะใช้ข้อมูลให้มีความสัมพันธ์กันกับข้อมูลจากการตอบคำถามของผมในครั้งที่แล้วด้วยนะครับ
เริ่มต้นจากการคำนวณหาก่อนนะครับว่า หากว่าผมเลือกที่จะทำการเสริมเหล็กในแผ่นพื้นๆ นี้ผมจะต้องใช้เหล็กเสริมปริมาณเท่ากับเท่าใด โดยที่ผมจะเลือกใช้เป็นเหล็กเส้นกลมตามมาตรฐาน SR24 ซึ่งจะมีค่ากำลังดึงที่จุดครากเท่ากับ 2400 KSC นะครับ ซึ่งสำหรับเหล็กเสริมเกรดนี้จะต้องใช้ปริมาณพื้นที่หน้าตัดของเหล็กเสริมที่จะทำหน้าที่ป้องกันการแตกร้าวในหน้าตัดคอนกรีตเท่ากับ
Ast = 0.0025 B T
Ast = 0.0025 x 100 x 27.5
Ast = 6.88 CM^(2)
ต่อมาเราจะทำการคูณค่าพื้นที่หน้าตัดที่คำนวณได้นี้กับค่าหน่วยแรงดึงที่จุดครากของเหล็กเสริม ก็จะออกมามีค่าเท่ากับค่าแรงดึงที่จะทำหน้าที่ในการต้านทานการแตกร้าวที่เหล็กเสริมจะต้องทำหน้าที่ในการต้านทาน ซึ่งก็จะมีค่าเท่ากับ
Ft (As) = Ast fy
Ft (As) = 6.88 x 2400
Ft (As) = 16,512 KGF
ต่อมาก็คือจะทำการคำนวณว่า หากเราเลือกไม่ทำการเสริมเหล็กในหน้าตัดเลย นั่นก็เท่ากับว่าเราจะต้องทำการคำนวณค่าหน่วยแรงนี้จากค่าหน่วยแรงดึงที่ผิวด้านนอกสุดของหน้าตัดของคอนกรีต ซึ่งก็สามารถทำการคำนวณค่าหน่วยแรงดึงได้จากค่า MODULUS OF RUPTURE ของคอนกรีตซึ่งมีค่าเท่ากับ
Fr = 2√(fc’)
Fr = 2√(210)
Fr = 28.98
Fr ≈ 28 KSC
ต่อมาเราจะทำการคูณค่าหน่วยแรงดึงที่คำนวณได้นี้กับค่าพื้นที่หน้าตัดของคอนกรีตแบบไม่แตกร้าวให้ออกมามีค่าเท่ากับค่าหน่วยแรงที่จะทำหน้าที่ในการต้านทานการแตกร้าวที่หน้าตัดคอนกรีตจะต้องทำหน้าที่ในการต้านทาน ซึ่งก็จะมีค่าเท่ากับ
Ft (Ac) = (½)(B)(T/2)(Fr)
Ft (Ac) = (1/2)(100)(27.5/2)(28)
Ft (Ac) = 19,250 KGF
จากการคำนวณข้างต้นจะเห็นได้ว่า ค่าหน่วยแรงที่จะทำหน้าที่ในการต้านทานการแตกร้าวที่หน้าตัดคอนกรีตจะต้องทำหน้าที่ในการต้านทาน หรือค่า Ft (Ac) จะมีค่ามากกว่า ค่าหน่วยแรงที่จะทำหน้าที่ในการต้านทานการแตกร้าวที่เหล็กเสริมจะต้องทำหน้าที่ในการต้านทาน หรือค่า Ft (As) หรืออาจจะเขียนความสัมพันธ์ให้ดูง่ายๆ ได้ว่า
Ft (Ac) > Ft (As)
ดังนั้นนี่เองจึงเป็นเหตุและผลว่าเพราะเหตุใดผมถึงได้แจ้งไปว่า สำหรับพื้นที่เป็นประเภทวางบนดินหากว่าพื้นนั้นๆ มีขนาดของระยะห่างระหว่างจุดต่อที่เหมาะสม และ มีขนาดของความหนาของโครงสร้างแผ่นพื้นที่มากเพียงพอ มาตรฐานการออกแบบ ACI360R-10 นั้นได้อนุญาตให้เราไม่จำเป็นที่จะต้องใส่เหล็กเสริมเข้าไปในแผ่นพื้นก็ได้ ซึ่งผมก็ต้องขออนุญาตเน้นย้ำเป็นรอบที่หนึ่งร้อยอีกครั้งว่า แผ่นพื้นดังกล่าวนี้จะต้องเป็นแผ่นพื้นประเภทวางบนดินที่มีขนาดของระยะห่างระหว่างจุดต่อที่เหมาะสมและมีขนาดของความหนาของโครงสร้างแผ่นพื้นที่มากเพียงพอด้วยนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างเหนือและใต้ดิน
#ความรู้ในเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องพื้นวางบนดินครั้งที่สอง
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com