เสาเข็มเจาะ ที่ใช้ในโครงการก่อสร้างฐานรากรับรถไฟฟ้า

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยและมา DISCUSS ร่วมกันกับเพื่อนๆ ถึงประเด็นคำถามที่ผมได้ฝากเอาไว้ตั้งแต่เมื่อวานนั่นก็คือ

 

ผมคิดว่าเพื่อนๆ คงจะรู้จักและคุ้นเคยกับเสาเข็มเจาะทั่วๆ อยู่แล้วนะครับ โดยขนาดของเสาเข็มเจาะที่เพื่อนๆ อาจจะมีความคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วก็อาจจะเป็นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 350 มม 500 มม และ 600 มม ตามลำดับ ซึ่งการเสริมเหล็กภายในหน้าตัดของเสาเข็มเจาะขนาดดังกล่าวนี้ก็จะถือได้ว่าไม่ได้แน่นหนาอะไรมากมาย แต่ จะเห็นเสาเข็มเจาะจากในรูปว่า ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางนั้นใหญ่โตมโหฬารเอาเรื่องอยู่ มิหนำซ้ำเหล็กเสริมภายในเองก็ยังค่อนข้างที่จะเยอะมากๆ อีกต่างหากและคำถามก็คือ เพื่อนๆ คิดว่าเสาเข็มเจาะในรูปๆ นี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ใด ? เพราะสาเหตุใดเสาเข็มเจาะในรูปนั้นจึงต้องมีขนาดใหญ่โตอะไรขนาดนี้ ? และเพราะสาเหตุใดการเสริมเหล็กจึงต้องมากมายอะไรขนาดนี้ด้วย ?

 

พอผมแอบไปดูคำตอบที่เพื่อนๆ ช่วยกันร่วมสนุกและตอบเข้ามา ก็พบว่ามีเพื่อนๆ ที่ตอบได้ใกล้เคียงอยู่เหมือนกันนะครับ

 

เริ่มจากเสาเข็มเจาะในรูปๆ นี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ใด ?

ผมเชื่อว่าคงมีเพื่อนๆ หลายๆ คนคงจะเดาออกนะครับ เสาเข็มเจาะต้นนี้เป็นเสาเข็มเจาะที่ใช้ในโครงการก่อสร้างฐานรากรับรถไฟฟ้านั่นเองครับ โดยหากเพื่อนๆ ขับรถผ่านไปตามท้องถนนที่มีโครงการรถไฟฟ้าขึ้นอยู่ ก็จะเห็นภาพแบบนี้กันจนคุ้นตากันอยู่แล้วนะครับ

 

คำถามต่อมาคือ เพราะสาเหตุใดเสาเข็มเจาะในรูปนั้นจึงต้องมีขนาดใหญ่โตอะไรขนาดนี้ ?

นั่นเป็นเพราะส่วนใหญ่แล้วฐานรากในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้านั้นจะมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่เพราะวิศวกรจำเป็นต้องออกแบบให้การรับน้ำหนักที่ด้านบนนั้นครอบคลุมในทุกๆ กรณี ไม่ว่าจะเป็น น้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่ง เช่น น้ำหนักบรรทุกคงที่ น้ำหนักบรรทุกจร น้ำหนักบรรทุกกระแทก เป็นต้น และ น้ำหนักบรรทุกในแนวราบ เช่น น้ำหนักบรรทุกเนื่องจากอุณหภูมิ น้ำหนักบรรทุกเนื่องจากแรงลม น้ำหนักบรรทุกเนื่องจากแผ่นดินไหว เป็นต้น และ เป็นที่น่าสังเกตว่าในโครงการลักษณะนี้มักจะมีการเลือกใช้จำนวนเสาเข็มที่ค่อนข้างน้อย (เนื่องด้วยหลายสาเหตุด้วยกันนะครับ) ดังนั้นหากประเมินด้วยสายตาแล้วจะพบว่าขนาดของเสเข็มเจาะดังรูปจะมีขนาดไม่เล็กกว่า 1.00 ม เลยทีเดียวนะครับ

 

สุดท้ายคือ เพราะสาเหตุใดการเสริมเหล็กจึงต้องมากมายอะไรขนาดนี้ด้วย ?

คำตอบข้อนี้ก็จะสัมพันธ์กันกับคำตอบข้อก่อนหน้านี้นะครับ เนื่องจากการเลือกใช้เสาเข็มในปริมาณที่น้อยจึงทำให้วิศวกรจำเป็นต้องใช้เสาเข็มให้เต็มประสิทธิภาพ โดยที่เสาเข็มที่ใช้ในโครงสร้างลักษณะนี้จะต้องรับแรงทุกๆ แรงที่เกิดขึ้นในโครงสร้างเลย ไม่ว่าจะเป็น แรงอัด แรงดึง แรงเฉือน แรงดัด และ แรงบิด ดังนั้นจะสังเกตเห็นได้ว่ารอบๆ ผิวของเสาเข็มเจาะจะเต็มไปด้วยเหล็กเสริม ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้เสาเข็มเจาะนั้นสามารถที่จะรับแรงทั้งหมดที่ถ่ายลงมาจากตัวโครงสร้างตอม่อทางด้านบนได้นั่นเองครับ

 

ในโอกาสต่อๆ ไปผมจะขออนุญาตนำเรื่องเหตุและผลว่าเพราะเหตุใดโครงการก่อสร้างในลักษณะแบบนี้จึงมักที่จะเลือกใช้จำนวนเสเาข็มที่ค่อนข้างน้อยในการใช้เป็นระบบฐานรากของโครงสร้างบ้างนะครับ หากเพื่อนๆ ท่านใดมีความสนใจในหัวข้อนี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความเรื่องนี้ของผมได้นะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com