สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการพูดถึงเรื่อง ความหนาน้อยที่สุดสำหรับแผ่นพื้นชนิดวางตัวอยู่บนคานที่เป็น แผ่นพื้นทางเดียว และ แผ่นพื้นสองทาง ให้แก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนได้รับทราบกันนะครับ
โดยที่ผมต้องขออธิบายก่อนนะครับว่าสาเหตุที่ข้อกำหนดในการออกแบบได้กำหนดให้เราต้องทำการคำนวณหาค่าความหนาน้อยที่สุดของทั้งแผ่นพื้นทางเดียวและแผ่นพื้นสองทางนั่นเป็นเพราะว่า การคำนวณหาค่าการเสียรูปของโครงสร้างคอนกรีตนั้นสามารถที่จะทำได้แต่ก็ค่อนข้างยากเอาเรื่องอยู่ ข้อกำหนดการออกแบบจึงได้มีแนวคิดว่า หากผู้ออกแบบกำหนดให้ใช้ขนาดความหนาของแผ่นพื้นให้มีค่ามากกว่าค่าความหนาน้อยที่สุดที่ได้ให้ไว้เป็นแนวทางในข้อกำหนดนี้แล้ว ผู้ออกแบบก็อาจที่จะไม่จำเป็นต้องทำการคำนวณหาค่าการเสียรูปของโครงสร้างแผ่นพื้นนี้ก็ได้นั่นเองครับ
อย่างไรก็ดีผมก็อยากจะเน้นย้ำเอาไว้ตรงนี้สักเล็กน้อยนะครับว่า การไม่คำนวณหาค่าการเสียรูปของแผ่นพื้นนั้นสามารถที่จะทำได้แต่แผ่นพื้นนั้นๆ ก็ต้องมีลักษณะต่างๆ เป็นไปตามปกติด้วย เช่น มีลักษณะช่วงและความยาวของพื้นที่ปกติ มีลักษณะของการรับน้ำหนักในปริมาณที่ปกติ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นปกติ เป็นต้น เอาละ เรามาเริ่มต้นที่แผ่นพื้นทางเดียวก่อนก็แล้วกัน ยังไงผมขอให้เพื่อนๆ ดูรูปประกอบนะครับ
หากผมกำหนดให้ค่า Ln นั้นเป็นระยะช่วงว่างการพาดของแผ่นพื้น ลักษณะของความหนาน้อยที่สุดของแผ่นพื้นทางเดียวนั้นจะขึ้นอยู่กับสภาพของการยึดรั้งของแผ่นพื้นเป็นหลัก ดังนั้นเราจึงมีวิธีการพิจารณาจากลักษณะของช่วงที่แผ่นพื้นนั้นๆ มีการยึดรั้ง เช่น แผ่นพื้นที่ไม่มีช่วงต่อเนื่องเลย ค่าระยะความหนาน้อยที่สุดจะมีค่าเท่ากับ Ln/20 หรือหากเป็น แผ่นพื้นที่มีช่วงเป็นปลายต่อเนื่อง 1 ด้าน ค่าระยะความหนาน้อยที่สุดจะมีค่าเท่ากับ Ln/24 หรือหากเป็น แผ่นพื้นที่มีช่วงเป็นปลายต่อเนื่อง 2 ด้าน ค่าระยะความหนาน้อยที่สุดจะมีค่าเท่ากับ Ln/28 หรือหากเป็น แผ่นพื้นที่มีช่วงเป็นปลายยื่น ค่าระยะความหนาน้อยที่สุดจะมีค่าเท่ากับ Ln/10 เป็นต้นนะครับ
โดยผมขอหมายเหตุไว้ตรงนี้สักนิดนะครับว่า ค่าที่แสดงอยู่ในรูปๆ นี้เป็นค่าที่อ้างอิงจากการเสริมเหล็กด้วยเหล็กข้ออ้อยที่มีค่ากำลังดึงที่จุดครากเท่ากับ 4200 KSC และหากเราไม่ได้ใช้เหล็กเสริมที่มีค่ากำลังดึงที่จุดครากเป็นค่าๆ นี้ ซึ่งอาจจะมีค่าที่สูงหรือต่ำกว่า 4200 KSC ก็ให้ทำการคูณค่าข้างต้นด้วยค่าปรับแก้ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ R โดยที่ค่า R นั้นจะมีค่าเท่ากับ
R = 0.40 + fy / 7000
สุดท้ายสำหรับแผ่นพื้นสองทางกันบ้างนะครับ การคำนวณหาค่าความหนาน้อยที่สุดของแผ่นพื้น 2 สองทางนั้นสามารถที่จะทำได้ง่ายกว่าแผ่นพื้นทางเดียวค่อนข้างมากเพราะลักษณะของการยึดรั้งของแผ่นพื้นสองทางนั้นจะมีมากกว่าแผ่นพื้นทางเดียวอยู่แล้ว ซึ่งค่าความหนาน้อยที่สุดของแผ่นพื้นสองทางจึงมีค่าเท่ากับ เส้นรอบรูปของพื้นสองทาง ส่วนด้วย 180 นั่นเองครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างเหนือและใต้ดิน
#ความรู้เรื่องความหนาน้อยที่สุดของแผ่นพื้นทางเดียวและสองทางคอนกรีตเสริมเหล็ก
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com