ชิ้นส่วนโครงสร้างยึดรั้งเหล็กที่จะไร้ซึ่งการโก่งเดาะ หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า STEEL BUCKLING RETSTRAINED BRACE (SBRB)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

เนื่องจากในช่วยปลายของสัปดาห์นี้ไปจนถึงช่วงปลายๆ ของสัปดาห์หน้า แอดมินมีกำหนดการที่จะต้องเดินทางไป ณ ประเทศไต้หวัน เพื่อไปนำเสนอผลงานการทำงานวิจัยในระดับ ป เอก ที่กำลังศึกษาอยู่ ทางแอดมินจึงอยากจะขออนุญาตเพื่อนๆ ทุกคนทำการปรับเปลี่ยนผังและแผนของการโพสต์สักเล็กน้อย ทั้งนี้ก็เพื่อให้แอดมินนั้นสะดวกและเราเราก็ยังจะได้สามารถพบกันได้ในทุกๆ วันเหมือนเช่นเคยได้นั่นเองครับ

วันนี้ผมได้ทำการนำเสนอผลงานการวิจัยเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตอนเย็นๆ พอเสร็จจากงานประชุมเลยมีโอกาสได้มาเดินชมนิทรรศการที่บรรดาสปอนเซอร์และห้างร้านต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวได้ทำการแสดงอยู่และมีโอกาสได้ไปพบเจอกับบริษัทที่มีการจัดจำหน่ายอุปกรณ์ๆ หนึ่งที่ถือได้ว่ามีความน่าสนใจและในขณะนี้ก็ได้มีการนำเอาผลจากการทำงานวิจัยไปต่อยอดใช้ในงานโครงสร้างจริงๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นก็คือ ชิ้นส่วนโครงสร้างยึดรั้งเหล็กที่จะไร้ซึ่งการโก่งเดาะ หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า STEEL BUCKLING RETSTRAINED BRACE หรืออาจเรียกด้วยคำย่อว่า SBRB นั่นเองครับ

 

ดังนั้นในวันนี้ผมจึงอยากที่จะขออนุญาตมาแชร์ความรู้และพูดถึงเรื่อง ชิ้นส่วนโครงสร้างยึดรั้งเหล็กที่จะไร้ซึ่งการโก่งเดาะ นี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้รับรู้และทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันนะครับ

 

จริงๆ แล้วชื่อของเจ้า SBRB หรือว่า ชิ้นส่วนโครงสร้างยึดรั้งเหล็กที่จะไร้ซึ่งการโก่งเดาะ นี้ก็น่าที่จะเป็นสิ่งที่จะสามารถบ่งบอกได้ถึงความเป็นตัวตนของชิ้นส่วนโครงสร้างนี้ได้ดีที่สุดอยู่แล้วนั่นก็คือ ชิ้นส่วนชิ้นนี้จะถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยวัสดุจำพวกเหล็กที่จะมีหน้าที่เป็นชิ้นส่วนโครงสร้างรองที่จะคอยทำการยึดรั้งชิ้นส่วนหลักๆ ภายในระบบโครงสร้าง โดยที่จะเจ้าชิ้นส่วนโครงสร้างรองนี้เองก็จะได้รับการป้องกันไม่ให้สามารถเกิดการโก่งเดาะได้

 

โดยในการออกแบบ SBRB นั้นผู้ออกแบบจะต้องทำการเลือกและกำหนดตำแหน่งของ SBRB ที่เราจะใช้ยึดรั้งเข้าไปในโครงสร้างให้ดีเสียก่อน จากนั้นก็จะทำการสมมุติขนาดพื้นที่ของหน้าตัดภายในเหล็กแกนของ SBRB ขึ้นมา จากนั้นก็ทำการวิเคราะห์โครงสร้างอาคาร โดยอาจจะทำการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยแรงกระทำตามวิธีการแรงสถิตเทียบเท่าก็ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะทำการคำนวณหาค่าแรงที่จะกระทำตามแนวแกนของเหล็กแกนภายใน SBRB เพื่อที่สุดท้ายแล้วเราจะสามารถนำไปใช้ในการออกแบบหาพื้นที่หน้าตัดสุทธิของเหล็กแกนภายใน SBRB ได้น่ะครับ

 

โดยหลักการง่ายๆ ในทำการออกแบบ SBRB ก็คือ เราจะทำการออกแบบให้ปลอกหุ้มเหล็ก หรือ STEEL CASING นั้นมีกำลังสูงที่กว่ากำลังที่เกิดจากกำลังรับแรงสูงสุดของเหล็กแกน หรือ STEEL CORE โดยในปัจจุบันเราอาจจะสามารถทำการออกแบบได้ตามข้อกำหนดของ AMERICAN INSTITUTE OF STEEL CONSTRUCTION หรือ AISC ก็ได้นะครับ

 

เมื่อเราทำการติดตั้ง ชิ้นส่วนโครงสร้างยึดรั้งเหล็กที่จะไร้ซึ่งการโก่งเดาะ เข้าไปในโครงสร้างเมื่อใดและระบบโครงสร้างของเรามีโอกาสที่จะต้องรับแรงกระทำทางด้านข้างอันเนื่องมาจากแรงกระทำจากแผ่นดินไหว ต่อให้เจ้าชิ้นส่วนโครงสร้างยึดรั้งเหล็กที่จะไร้ซึ่งการโก่งเดาะนี้จะรับแรงกระทำที่มีค่ามากๆ จนเลยค่ากำลังที่จุดครากไปแล้วแต่ว่าเจ้าชิ้นส่วนนี้จะยังไม่ถือว่าได้เกิดการวิบัติเพราะว่าเจ้าชิ้นส่วนๆ นี้ยังจะสามารถที่จะไปต่อได้ในช่วงที่มีความเป็น NON-LINEAR อีกไกลโข อย่างน้อยก็จนกว่าที่ค่าแรงกระทำดังกล่าวนี้จะมีค่ามากถึงค่ากำลังประลัยของตัววัสดุเลย

 

ดังนั้นด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เจ้าชิ้นส่วนโครงสร้างยึดรั้งเหล็กที่จะไร้ซึ่งการโก่งเดาะนี้จึงเป็นกลไกที่จะช่วยในการสลายพลังงานที่จะเกิดจากแรงกระทำทางด้านข้างอันเนื่องมาจากแผ่นดินไหวได้อย่างดีและมีความต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยหากเรานำเอาเจ้าชิ้นส่วนโครงสร้างยึดรั้งเหล็กที่จะไร้ซึ่งการโก่งเดาะนี้ไปทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการเมื่อใด เราก็จะพบได้ว่าผลของ HYSTERESIS CURVE ของเจ้า SBRB นี้จะสามารถเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์แบบตามทฤษฎีของการทดสอบชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กแบบเป๊ะๆ เลยละครับ

 

ตามเหตุผลที่ผมได้กล่าวถึงโดยสังเขปนี้ จึงทำให้เมื่อใดก็ตามที่เราทำการติดตั้งชิ้นส่วนโครงสร้างยึดรั้งเหล็กที่จะไร้ซึ่งการโก่งเดาะเข้าไปในโครงสร้างที่ตำแหน่งใดๆ ที่มีความเหมาะสม จะเป็นการช่วยเพิ่มกลไกความสามารถในการสลายพลังงานของระบบโครงสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนยังจะเป็นตัวช่วยที่ดีในการควบคุมค่าการเสียรูปทางด้านข้างอันเนื่องมาจากแรงกระทำจากแผ่นดินไหวได้เป็นอย่างดีอีกด้วยครับ

 

ต่อไปผมจะเลือกนำเอาเรื่องราวอะไรที่ถือได้ว่ามีความน่าสนใจและน่าที่จะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ มาแชร์หรือมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังอีกในขณะที่ผมอยู่ในประเทศไต้หวัน ผมก็ขอฝากให้เพื่อนๆ ทุกๆ คนนั้นช่วยกันติดตามอ่านบทความของผมได้ในวันพรุ่งนี้นะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com