สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ
เนื่องจากวันนี้ผมพอจะมีเวลาว่างเล็กน้อย เลยจะขออนุญาตมาตอบคำถามที่เพื่อนวิศวกรของผมท่านหนึ่งได้ฝากคำถามกับผมไว้มาสักพักใหญ่แล้วโดยมีใจความของคำถามว่า
“ เพราะเหตุใดเวลาทำงานพื้น คอร ชนิดดึงเหล็กทีหลัง (POST-TENSIONED SLAB) จะเห็นได้ทั่วๆ ไปเลยว่า เราจะนิยมทำการวางตัวลวดอัดแรงทางด้านยาวของพื้นให้อยู่ที่ด้านบนเหนือลวดอัดแรงทางด้านสั้นของพื้นอยู่เสมอๆ เลยละครับ รบกวนช่วยอธิบายหน่อยนะครับ ?”
ผมขออธิบายง่ายๆ แบบนี้นะครับ ในกรณีที่เพื่อนท่านนี้ถามถึง น่าจะหมายถึงในกรณีที่แผ่นพื้น คอร นั้นเป็น แผ่นพื้นไร้คาน ไม่ว่าจะเป็นแบบ แผ่นพื้นท้องเรียบ (FLAT PLATE) หรือ มีแผ่นพื้นแบบมีแป้นหัวเสา (FLAT SLAB) ก็แล้วแต่ ตัว โครงสร้างแผ่นพื้นในช่วงแนวเสา (COLUMN STRIP SLAB) นั้นจะทำหน้าที่หลักในการรับ นน แทน โครงสร้างคาน โดยหากเราให้ นน บรรทุกแบบกระจายตัว (UNIFORMLY DISTRIBUTED LOAD) นั้นมีค่าเท่ากับ q เราจะให้ L1 เป็นด้านยาว (LONG SPAN) และ L2 เป็นด้านสั้น (SHORT SPAN)
เราจะพูดถึงด้านยาวก่อนก็แล้วกันนะครับ หากว่าต้องการที่จะให้แผ่นพื้นนั้นมีแรงพยุงเพื่อที่จะต้านทาน นน บรรทุกภายนอก ก็จะทำให้ นน บรรทุกแบบแผ่ที่กระทำบน โครงสร้างแผ่นพื้นในแนวช่วงเสา ก็จะมีค่าเท่ากับ
W1 = q L2
ซึ่งหากเราทำการวางแนวลวดให้เป็นแนวเส้นโค้งก็จะทำให้ค่า โมเมนต์ดัดสถิต ในโครงสร้างแผ่นพื้นนั้นจะมีค่าเท่ากับ
M1 = W1 L1^(2) / 8
M1 = W1 L2 L1^(2) / 8
ต่อมาเราจะพูดถึงด้านสั้นกันบ้างนะครับ หากว่าต้องการที่จะให้แผ่นพื้นนั้นมีแรงพยุงเพื่อที่จะต้านทาน นน บรรทุกภายนอก ก็จะทำให้ นน บรรทุกแบบแผ่ที่กระทำบน โครงสร้างแผ่นพื้นในแนวช่วงเสา ก็จะมีค่าเท่ากับ
W2 = q L1
ซึ่งหากเราทำการวางแนวลวดให้เป็นแนวเส้นโค้งก็จะทำให้ค่า โมเมนต์ดัดสถิต ในโครงสร้างแผ่นพื้นนั้นจะมีค่าเท่ากับ
M2 = W2 L2^(2) / 8
M2 = W2 L1 L2^(2) / 8
หากเราทำการเปรียบเทียบค่า M1 และ M2 เราจะพบว่า เมื่อค่า L1 มีค่ามากกว่า L2 ก็จะทำให้ค่า M1 มีค่ามากกว่า M2 เสมอ เพราะ เทอม L1 นั้นมีค่ามากกว่า L2 และถูกยกกำลัง 2 อยู่นะครับ
ดังนั้นหากเราจะต้องเลือกทำการวางแนวลวดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นั่นหมายความว่า ปริมาณลวดในด้านนั้นๆ มีความเหมาะสมต่อค่าโมเมนต์ดัดที่เกิดขึ้นในด้านนั้นๆ ด้วย หากเราจะต้องเลือกให้เส้นลวดที่ด้านใดด้านหนึ่งให้อยู่ที่ทางด้านบน ซึ่งในที่สุดก็จะทำให้ค่าความลึกประสิทธิผล (EFFECTIVE DEPTH) ในด้านนั้นๆ มีค่ามากที่สุด แน่นอนว่าเราก็ย่อมต้องทำการเลือกให้ ด้านยาว นั้นอยู่ทางด้านบน เพราะที่ด้านนี้มีค่า โมเมนต์ดัด มากที่สุด หรือ พูดง่ายๆ คือด้านนี้จะมีภาระที่มากกว่าอีกด้าน ส่วนด้านสั้นเราก็มักที่จะให้อยู่ด้านล่าง เพราะ ที่ด้านนี้จะมีค่า โมเมนต์ดัด น้อยกว่าทางด้านยาว หรือ พูดง่ายๆ คือด้านนี้จะมีภาระที่น้อยกว่าอีกด้านนั่นเองครับ
ผมพยายามจะอธิบายด้วยภาษาที่น่าจะง่ายและกระชับที่สุดแล้วนะครับ หวังว่าจะเข้าใจ สุดท้ายนี้ผมอยากจะบอกกับเพื่อนๆ ทุกคนว่า ในการออกแบบพื้น คอร นั้นเราสามารถที่จะทำการกำหนดได้นะครับว่า เราจะทำการวางลวดในรูปแบบใด ดูภาพประกอบจากในรูปนะครับ ในรูป a เราจะเรียกรูปแบบของการวางแนวลวดแบบนี้ว่า การวางแนวลวดอัดแรงแบบสม่ำเสมอ (UNIFORM DISTRIBUTION) ในรูป b เราจะเรียกรูปแบบของการวางแนวลวดแบบนี้ว่า การวางแนวลวดอัดแรงแบบไม่สม่ำเสมอ (BANDED DISTRIBUTION) ในรูป c เราจะเรียกรูปแบบของการวางแนวลวดแบบนี้ว่า การวางแนวลวดอัดแรงทางเดียวแบบไม่สม่ำเสมอ (ONE WAY-BANDED DISTRIBUTION) และ ในรูป d เราจะเรียกรูปแบบของการวางแนวลวดแบบนี้ว่า การวางแนวลวดอัดแรงแบบสม่ำเสมอโดยอาศัยเหล็กเสริมพิเศษ (UNIFORM DISTRIBUTION WITH ADDITIONAL MILD STEEL) ซึ่งแต่ละวิธีการนั้นจะถูกนำมาเลือกใช้ก็ต่อเมื่อกรณีของโครงสร้างแผ่นพื้นนั้นๆ มีความเหมาะสมทางด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ความเหมาะสมทางด้านรูปทรง (GEOMETRY) ความเหมาะสมทางด้านการทำงาน (PRACTICE) เป็นต้นนะครับ เพราะฉะนั้นหากว่าวันหนึ่งเพื่อนๆ นั้นมีโอกาสที่จะได้ไปพบเจอกับการวางแนวลวดแบบที่มีความแปลกหูแปลกตาออกไปบ้างก็อย่าเพิ่งตกอกตกใจไป เราควรต้องทำการสังเกตและศึกษาดูในเบื้องต้นก่อนว่า เพราะเหตุใดผู้ออกแบบจึงทำการออกแบบให้แนวการวางลวดนั้นออกมาเป็นเช่นนั้น ผมเชื่อว่าหากเพื่อนๆ ทำเช่นนั้น เพื่อนๆ จะได้รับความรู้และเกิดความเข้าใจในการออกแบบแผ่นพื้น คอร มากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอนครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com