โครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างคานเหล็กรูปพรรณ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันจันทร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ

เมื่อในสัปดาห์ที่แล้วผมได้ทำการยกตัวอย่างเพื่อใช้ในการอธิบายถึงวิธีในการออกแบบ โครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างคานเหล็กรูปพรรณ หรือ BEAM BEARING PLATE ซึ่งผมก็ได้ใช้วิธีในการออกแบบตามมาตรฐาน AISC โดย วิธีการหน่วยแรงที่ยอมให้ หรือ ALLOWABLE STRESS DESIGN หรืออาจจะเรียกสั้นๆ ได้ว่าวิธี ASD ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นในวันนี้ผมอยากจะมาขออธิบายให้เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบเพื่อเป็นวิทยาทานกันอีกสักหนึ่งเรื่องนั่นก็คือ วิธีในการออกแบบโครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างเสาเหล็กรูปพรรณ หรือ COLUMN BEARING PLATE นั่นเองนะครับ


จริงๆ แล้วเมื่อเราพูดถึงโครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างเสาเหล็กรูปพรรณก็จะไมได้มีความแตกต่างออกไปจากการออกแบบโครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างคานเหล็กรูปพรรณมากนัก นั่นก็คือเราจะต้องพิจารณาทำการออกแบบให้ตัวโครงสร้างแผ่นเหล็กนั้นต้องทำหน้าที่รับทั้งค่าแรงกระทำตามแนวแกนหรือ AXIAL FORCE และค่าแรงดัดหรือ FLEXURAL FORCE แต่สำหรับกรณีของโครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างเสาเหล็กรูปพรรณนั้นจะแตกต่างออกไปบ้างตรงที่ทั้งค่าแรงกระทำตามแนวแกนและค่าแรงดัดที่เกิดขึ้นนั้นจะมีค่าที่สูงกว่าในกรณีของโครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างคานเหล็กรูปพรรณค่อนข้างที่จะมากเลย ซึ่งเทคนิคในการออกแบบโครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างเสาเหล็กรูปพรรณที่ผมจะนำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ก็คือ ให้เพื่อนๆ นำเอารูปแบบของการกระจายตัวของแรงเค้นอัดแบบเชิงเส้นหรือ BEARING STRESS LINEAR DISTRIBUTION ที่เกิดขึ้นใต้โครงสร้างแผ่นเหล็กมาใช้ ซึ่งเพื่อนๆ อาจจะใช้หลักการของการรวมผลหรือ SUPERPOSITION มาใช้ร่วมด้วยก็ยังสามารถที่จะทำได้

ซึ่งหากจะให้พูดถึงกรณีของการที่โครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างเสาเหล็กรูปพรรณที่จะต้องทำหน้าที่รับเฉพาะแค่เพียงแรงกระทำตามแนวแกน ผมก็แค่คิดว่าเพื่อนๆ หลายๆ คนก็น่าที่จะมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องนี้บ้างอยู่แล้ว ดังนั้นในวันนี้ผมจะขออนุญาตพูดถึงเฉพาะกรณีที่โครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะต้องทำหน้าที่ในการรองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างเสาเหล็กรูปพรรณซึ่งจะต้องรับทั้งค่าแรงกระทำตามแนวแกนและค่าแรงดัดพร้อมๆ กันเลยนะครับ
เมื่อใดก็ตามที่โครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะต้องทำหน้าที่ในการรองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างเสาเหล็กรูปพรรณซึ่งจะต้องรับทั้งค่าแรงกระทำตามแนวแกนและค่าแรงดัดพร้อมๆ กัน แน่นอนว่าก็จะทำให้เกิดค่า “ระยะเยื้องศูนย์” หรือ ECCENTRICITY ขึ้นทันที ซึ่งเราจะสามารถทำการแบ่งลักษณะของการเยื้องศูนย์นี้ออกได้เป็น 3 กรณีหลักๆ นั่นก็คือ
กรณีที่ 1
เมื่อคำนวณระยะเยื้องศูนย์ออกมาแล้วพบว่ามีค่าที่ไม่มากไปกว่าระยะ N/6 พูดง่ายๆ ก็คือ ค่า e นั้นค่อนข้างที่จะน้อยมากๆ เลยหรือจะสามารถเขียนให้อยู่ในรูปแบบของสมการได้ว่า
e ≤ N/6

ค่าหน่วยแรงเค้นที่จะเกิดใต้โครงสร้างแผ่นเหล็กจะมีค่าเป็นหน่วยแรงเค้นอัดทั้งหมดเลยและเราจะสามารถทำการคำนวณหาค่าหน่วยแรงเค้นอัดสูงสุดที่เกิดขึ้นซึ่งจะมีค่าเท่ากับ
fb,max = P×(1 + 6×e/N)/(B×N)

สำหรับกรณีที่เมื่อทำการคำนวณหาค่า e แล้วพบว่าค่าๆ นี้มีค่าที่น้อยกว่าระยะ N/6 หรือจะสามารถเขียนให้อยู่ในรูปแบบของสมการได้ว่า
e = N/6

สำหรับกรณีนี้ค่าหน่วยแรงเค้นที่จะเกิดใต้โครงสร้างแผ่นเหล็กจะมีค่าเป็นหน่วยแรงเค้นอัดทั้งหมด ซึ่งค่าหน่วยแรงเค้นต่ำที่สุดที่เกิดขึ้นก็จะมีค่าเท่ากับ 0 พอดิบพอดีเลย ซึ่งเราจะสามารถทำการคำนวณหาค่าหน่วยแรงเค้นอัดสูงสุดที่เกิดขึ้นซึ่งจะมีค่าเท่ากับ
fb,max = 2×P/(B×N)

กรณีที่ 2
เมื่อคำนวณระยะเยื้องศูนย์ออกมาแล้วพบว่ามีค่าที่มากกว่า N/6 แต่ก็ไม่มากไปกว่าหรือเต็มที่เลยก็คือออกมามีค่าเท่ากับระยะ N/2 เลย ซึ่งพูดง่ายๆ ก็คือ ค่า e นั้นจะมีค่าอยู่ในเกณฑ์ปานกลางหรือจะสามารถเขียนให้อยู่ในรูปแบบของสมการได้ว่า
N/6 < e ≤ N/2

หากผลจากการคำนวณออกแบบโครงสร้างแผ่นเหล็กที่จะทำหน้าที่รองรับแรงกดสำหรับโครงสร้างเสาเหล็กรูปพรรณนั้นออกมาเป็นดังกรณีนี้ ทั้งนี้เราก็จะต้องทำการคำนวณหาค่าขนาดของความยาวของส่วนฐานของค่าแรงเค้นอัดนี้เสียใหม่โดยที่ผมจะเรียกค่าๆ นี้ว่าค่า k×Z ก็แล้วกัน ซึ่งเราจะสามารถทำการคำนวณหาค่าหน่วยแรงเค้นอัดสูงสุดที่เกิดขึ้นซึ่งจะมีค่าเท่ากับ
fb,max = 2×P/(B×k×Z)

กรณีที่ 3
เมื่อคำนวณระยะเยื้องศูนย์ออกมาแล้วพบว่ามีค่าที่มากกว่า N/2 พูดง่ายๆ ก็คือ ค่า e นั้นจะมีค่าอยู่ในเกณฑ์ที่สูงหรือจะสามารถเขียนให้อยู่ในรูปแบบของสมการได้ว่า
e > N/2

สำหรับกรณีนี้ค่าหน่วยแรงเค้นที่จะเกิดใต้โครงสร้างแผ่นเหล็กจะมีทั้งค่าหน่วยแรงเค้นอัดและดึงด้วย ซึ่งค่าหน่วยแรงเค้นต่ำที่สุดที่เกิดขึ้นก็จะมีค่าเป็นหน่วยแรงเค้นดึง ซึ่งเราทราบดีว่าคอนกรีตไม่สามารถที่จะต้านทานแรงดึงที่เกดขึ้นได้ ดังนั้นเราจะต้องอาศัยสลักเกลียวแบบฝังยึดหรือ ANCHOR BOLT ให้เข้ามาช่วยทำหน้าที่ในการรับแรงดึงที่เกิดขึ้นนี้ ส่วนค่าหน่วยแรงเค้นสูงสุดที่เกิดขึ้นก็จะมีค่าเป็นหน่วยแรงเค้นอัดซึ่งเรายังสามารถอาศัยคอนกรีตให้ทำหน้าที่รับไปได้โดยที่ไม่มีปัญหาใดๆ นะครับ
ซึ่งเราก็ยังคงสามารถที่จะอาศัยหลักการของสมดุลสถิตหรือ STATIC EQUILIBRIUM ในการคำนวณหาทั้งค่าหน่วยแรงเค้นอัดสูงสุดและค่าแรงดึงที่จะต้องถูกต้านทานโดยสลักเกลียวแบบฝังยึดออกมาได้เหมือนเดิมเลยละครับ

เอาเป็นว่าในสัปดาห์หน้าผมก็ยังคงที่จะใช้รูปแบบของการโพสต์เหมือนกันกับในสัปดาห์ที่แล้วนั่นก็คือ ผมจะนำเอาตัวอย่างในการคำนวณมาแสดงให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้รับชมกันทั้งนี้ก็เพียงเพื่อเป็นวิทยาทาน ดังนั้นหากมีเพื่อนๆ ท่านใดที่อาจจะมีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความเรื่องนี้ของผมได้นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันจันทร์
#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง
#การออกแบบแผ่นเหล็กที่มีการติดตั้งสลักเกลียวแบบฝังยึด
#ครั้งที่4
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)

1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น

2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น

 

เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)

4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น

5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

 

เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)

6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


ต้องการตอกเสาเข็ม
สปันไมโครไพล์
ปรึกษาทีมงาน

สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 (คุณจิน)
☎️ 082-790-1448 (คุณสปัน)
☎️ 082-790-1449 (คุณปุ๊ก)
☎️ 091-9478-945 (คุณสปัน)
☎️ 091-8954-269 (คุณสปัน)
☎️ 091-8989-561 (คุณมาย)
📲 https://lin.ee/hum1ua2
🎥 https://lin.ee/gN4OMZe
📥 https://m.me/bhumisiam

 

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com