สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ
โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามในวันนี้จะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม และเหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ
ผมสมมติว่า โครงสร้างเสาเข็มของเรานั้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 300 มม และมีขนาดของ PILE TIP อยู่ที่ระดับ 21 ม จากระดับดินเดิม โดยที่ผมจะทำการกำหนดลงไปว่าในการก่อสร้างครั้งนี้มีการควบคุมคุณภาพแบบทั่วๆ ไป พูดง่ายๆ ก็คือ ไม่ได้มีการควบคุมภาพของงานก่อสร้างอะไรมากมายเป็นพิเศษ ทั้งนี้ผมมีความต้องการที่จะทำการออกแบบให้โครงสร้างเสาเข็มต้นนี้มีความสามารถในการรับแรงโมเมนต์ดัด Ms ให้ได้ ดังนั้นผมจะต้องทำการประยุกต์ใช้งานข้อมูลการทดสอบดินในรูปไปสร้างชิ้นส่วน SOIL SPRING เพื่อเป็นการสร้าง INTERACTION ระหว่าง ดิน และ โครงสร้างเสาเข็ม คำถามก็คือ หากเพื่อนๆ เป็นผู้ออกแบบในโครงการนี้ เพื่อนๆ จะเลือกออกแบบค่า kh (ไม่ใช่ Kh) สำหรับเสาเข็มต้นนี้ทั้งหมดกี่ค่า? และแต่ละค่าจะมีค่าเท่ากับเท่าใด?
ทั้งนี้เพื่อนๆ ยังสามารถที่จะให้เหตุผลต่างๆ หรือ อาจจะทำการสเก็ตช์ภาพประกอบคำตอบเพื่อใช้อธิบายเพิ่มเติมได้ แล้วยังไงวันพรุ่งนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยคำถามข้อนี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบพร้อมๆ กันนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันเสาร์
#ถามตอบชวนสนุก
#ปัญหาการคำนวณหาค่าkhเพื่อนำไปคำนวณหาค่าKhสำหรับสร้างSoilSpringElement
ADMIN JAMES DEAN
คำตอบ
เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย หากเพื่อนๆ ได้มีโอกาสย้อนกลับไปอ่านโพสต์ของผมเมื่อในสัปดาห์ที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่าคำถามข้อนี้นั้นง่ายมากๆ เลยใช่มั้ย ดังนั้นในวันนี้เราจะมาทำการวิเคราะห์หากันว่า หากเพื่อนๆ เป็นผู้ออกแบบในโครงการนี้ เพื่อนๆ จะเลือกออกแบบค่า kh (ไม่ใช่Kh) สำหรับเสาเข็มต้นนี้ทั้งหมดกี่ค่าและแต่ละค่าจะมีค่าเท่ากับเท่าใดไปพร้อมๆ กันนะครับ
ก่อนอื่นเรามาทบทวนกันสักเล็กน้อยกับเนื้อหาที่ผมได้ทำการอธิบายเอาไว้ก่อนหน้านี้ว่า หากเป็นชั้นดินเหนียวอ่อนค่า kh นั้นจะสามารถทำการคำนวณออกมาได้จากสมการนี้
kh=Fquality×Su/ØEQ.(1)
ทั้งนี้หากลักษณะของชั้นดินนั้นดีขึ้นมาจนไม่มีค่า Su แต่พบว่าดินนั้นเริ่มที่จะมีค่า SPT-N แล้ว เราจะสามารถแทนค่า Su ด้วยค่า 2/3×N ลงไปใน EQ.(1) ได้ ซึ่งจะทำให้สมการนั้นออกมาเป็น
kh=Fquality×(2/3×N)/ØEQ.(2)
ซึ่งค่า Fquality นั้นจะเป็นค่าพารามิเตอร์ที่จะขึ้นอยู่กับสภาพของการควบคุมคุณภาพของงานก่อสร้างเป็นหลัก สำหรับงานก่อสร้างทั่วๆ ไปค่า Fquality จะมีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ 67 และสำหรับงานก่อสร้างที่มีการควบคุณภาพเป็นอย่างดีค่า Fquality ก็จะมีค่ามากที่สุดเท่ากับ 200 ส่วนค่า Su คือค่า UNDRAINED SHEAR STRENGTH ของชั้นดิน ส่วนค่า N คือค่า จำนวนของค่า SPT-N BLOWS ของชั้นดิน และค่า Ø ก็คือ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของโครงสร้างเสาเข็มนะครับ
จากปัญหาข้อนี้ผมได้ทำการกำหนดลงไปว่าในการก่อสร้างครั้งนี้มีการควบคุมคุณภาพแบบทั่วๆ ไป พูดง่ายๆ ก็คือ ไม่ได้มีการควบคุมภาพของงานก่อสร้างอะไรมากมายเป็นพิเศษ ดังนั้นผมจะใช้ค่า Fquality ค่าต่ำสุดซึ่งก็จะมีค่าเท่ากับ 67 ส่วนค่า Ø ผมก็จะใช้เท่ากับขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของโครงสร้างเสาเข็มซึ่งมีค่าเท่ากับ 300 มม หรือ 0.30 ม ซึ่งหากทำการแทนค่าข้างต้นนี้ลงไปใน EQ.(1) และ EQ.(2) ก็จะได้ออกมาเป็น
kh=67×Su/0.30
kh=223×Su EQ.(3)
และ
kh=67×(2/3×N)/0.30
kh=150×N EQ.(4)
จะเห็นได้จาก EQ.(3) และ EQ.(4) ว่าตอนนี้เราเหลือเพียงแค่ต้องทำการพิจารณาและเลือกใช้งานค่า Su และค่า N ที่มีความเหมาะสมเพื่อเอามาแทนค่าลงใน EQ.(3) และ EQ.(4) เราก็จะได้ค่า kh ออกมาแล้วนะครับ
หากมาพิจารณาข้อมูลจากการทำ BORING LOG ดูเราก็จะพบว่าในชั้นดินตั้งแต่ระดับดินเดิมลงไปจนถึงที่ระดับความลึกของชั้นดินประมาณ 16 ม นั้นชั้นดินจะเป็นชั้นดินเหนียวอ่อนมาก ดังนั้นก็จะทำให้ชั้นดินนี้มีเฉพาะเพียงแค่ค่า Su เพียงเท่านั้นและก็จะพบด้วยว่าค่า Su ดังกล่าวนี้มีค่าที่ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก ดังนั้นเราก็อาจจะเฉลี่ยค่า Su ในดินชั้นนี้เพื่อเป็นตัวแทนของค่า kh สำหรับชั้นดินเหนียวอ่อนมากชั้นนี้ได้ ดังนั้นจะทำให้ค่า Su,average นั้นมีค่าเท่ากับ
Su1 = Su,average 1
Su,average 1=(1.71+0.60+0.52+0.62+0.72+0.75+1.04+1.31+1.44+1.67)/10
Su,average 1=1.04 T/M^(2)
ดังนั้นหากเราแทนค่า Su,average นี้ลงไปใน EQ.(3) ก็จะทำให้เราได้ค่า kh1 ออกมา ซึ่งก็จะมีค่าเท่ากับ
kh1=223×Su1
kh1=223×1.04
kh1=231 T/M^(3)
หากเราพิจารณาผลที่ได้จาก BORING LOG ต่อก็จะพบว่าถัดจากชั้นดินที่ระดับความลึกเท่ากับ 16 ม ไปจนถึงประมาณ 18 ม ชั้นดินเริ่มที่จะมีคุณภาพที่ดีขึ้นเพราะจะเห็นได้ว่าชั้นดินดังกล่าวนั้นเป็นชั้นดินเหนียวปานกลาง ดังนั้นที่ชั้นดินนี้ก็ยังคงจะมีเฉพาะเพียงแค่ค่า Su เหมือนกันกับชั้นดินก่อนหน้านี้ ดังนั้นหากเราแทนค่า Su ของชั้นดินดังกล่าวนี้ลงไปใน EQ.(3) ก็จะทำให้เราได้ค่า kh2 ออกมา ซึ่งก็จะมีค่าเท่ากับ
kh2=223×Su2
kh2=223×3.36
kh2=749 T/M^(3)
หากเราพิจารณาผลที่ได้จาก BORING LOG ต่อก็จะพบว่าถัดจากชั้นดินที่ระดับความลึกเท่ากับ 18 ม ไปจนถึงประมาณ 21 ม ชั้นดินนี้เป็นชั้นดินเหนียวซึ่งเริ่มที่จะมีความแข็งตัวแล้ว ดังนั้นก็จะทำให้ที่ชั้นดินนี้เริ่มที่จะมีค่า SPT-N แล้วและก็จะพบด้วยว่าค่า N ของชั้นดินนี้จะมีค่าที่ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก ดังนั้นเราก็อาจจะเฉลี่ยค่า N ในดินชั้นนี้เพื่อเป็นตัวแทนของค่า kh สำหรับชั้นดินชั้นนี้ได้ ดังนั้นจะทำให้ค่า N,average นั้นมีค่าเท่ากับ
N3=N,average 3
N,average 3=(31+33)/2
N,average 3=32 T/M^(2)
ดังนั้นหากเราแทนค่า N ของชั้นดินดังกล่าวนี้ลงไปใน EQ.(4) ก็จะทำให้เราได้ค่า kh3 ออกมา ซึ่งก็จะมีค่าเท่ากับ
kh3=223×N3
kh3=150×32
kh3=4800 T/M^(3)
สรุปก็คือ เราจะสามารถทำการออกแบบค่า kh สำหรับเสาเข็มต้นนี้ได้ทั้งหมด 3 ค่า ด้วยกัน ซึ่งทั้งค่า kh1 kh2 และ kh3 นั้นก็จะมีค่าเท่ากับ 231 T/M^(3) 749 T/M^(3) และ 4800 T/M^(3) ตามลำดับนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอาทิตย์
#ถามตอบชวนสนุก
#ตอบปัญหาการคำนวณหาค่าkhเพื่อนำไปคำนวณหาค่าKhสำหรับสร้างSoilSpringElement
ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam (ภูมิสยาม)
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam