“ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” การทดสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างเสาเข็ม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

ตามที่ผมได้รับปากกับเพื่อนๆ เอาไว้ในสัปดาห์ที่แล้วว่าในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาขยายความเกี่ยวกับเรื่องข้อมูลที่เราจะสามารถตรวจพบและไม่สามารถที่จะตรวจพบได้จากการทำการทดสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างเสาเข็มโดยวิธีการใส่แรงกระแทกเข้าไปที่ส่วนบนของโครงสร้างเสาเข็ม ซึ่งโพสต์นี้ก็น่าที่จะเป็นโพสต์สุดท้ายเกี่ยวกับการแชร์ความรู้ในการโพสต์รอบนี้แล้วนะครับ


ก่อนที่จะเริ่มในเนื้อหาในส่วนนี้ผมอยากจะขอฝากไว้นิสนึงตรงนี้ว่า หลังจากที่ในครั้งที่แล้วที่ผมได้ทำการอธิบายให้เพื่อนๆ ได้ทราบถึงข้อดีและข้อจำกัดของวิธีในการทดสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างเสาเข็มโดยวิธีการใส่แรงกระแทกเข้าไปที่ส่วนบนของโครงสร้างเสาเข็มไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วเพื่อนๆ ก็น่าจะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วข้อจำกัดของวิธีการทดสอบนี้ก็มีอยู่ค่อนข้างมาก ดังนั้นหากจะเลือกนำเอาวิธีการดังกล่าวนี้มาใช้ในการทดสอบโครงสร้างเสาเข็มผมก็ขอให้คำแนะนำว่า เพื่อนๆ ควรประเมินถึงข้อจำกัดต่างๆ เหล่านี้ให้ดีก่อนเสมอนะครับ

เอาละ เรามาต่อกันในเนื้อหาส่วนสุดท้ายนี้กันเลยก็แล้วกัน ซึ่งข้อมูลที่เราจะสามารถทำการตรวจพบได้จากการทำการทดสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างเสาเข็มโดยวิธีการใส่แรงกระแทกเข้าไปที่ส่วนบนของโครงสร้างเสาเข็มก็อาจจะประกอบไปด้วยตัวอย่างดังต่อไปนี้ เช่น คลื่นการสะท้อนกลับมาจากปลายของโครงสร้างเสาเข็ม คลื่นการสะท้อนกลับมาจากตำแหน่งของโครงสร้างเสาเข็มที่วัสดุนั้นมีคุณสมบัติที่ยอมให้คลื่นเสียงนั้นผ่านได้โดยมีความแตกต่างกันแทรกตัวอยู่เป็นจำนวนมาก คลื่นการสะท้อนกลับมาจากตำแหน่งที่มีรอยร้าวที่ตั้งฉากกันกับแกนของโครงสร้างเสาเข็ม คลื่นการสะท้อนกลับมาจากตำแหน่งที่โครงสร้างเสาเข็มนั้นมีลักษณะการบวมออกและการคอดตัวเข้ามา คลื่นการสะท้อนกลับมาจากตำแหน่งที่โครงสร้างชั้นดินนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ คลื่นการสะท้อนกลับมาจากตำแหน่งที่คุณสมบัติของวัสดุของโครงสร้างเสาเข็มนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ เป็นต้นนะครับ

ส่วนข้อมูลที่เราจะไม่สามารถที่จะทำการตรวจพบได้จากการทำการทดสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างเสาเข็มโดยวิธีการใส่แรงกระแทกเข้าไปที่ส่วนบนของโครงสร้างเสาเข็มก็อาจจะประกอบไปด้วยตัวอย่างดังต่อไปนี้ เช่น การที่ขนาดหน้าตัดของโครงสร้างเสาเข็มนั้นมีขนาดที่ค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้นหรือค่อยๆ เล็กลง การที่สภาพของโครงสร้างชั้นดินนั้นค่อยๆ เกิดการเปลี่ยนไป ทั้งนี้ต้องเน้นไว้ตรงนี้เลยว่า การทดสอบโดยวิธีการนี้ไม่สามารถที่จะตรวจสอบได้ถึงคุณสมบัติทางด้านกำลังของโครงสร้างชั้นดินหรือกำลังของโครงสร้างเสาเข็มได้ การที่ลักษณะของโครงสร้างเสาเข็มนั้นเกิดการโค้งตัวหรือคดงอตัวได้ การที่มีวัสดุแปลกปลอมซึ่งมีขนาดค่อนข้างจะเล็กใดๆ ที่อาจจะมีการแทรกตัวอยู่ในหน้าตัดของโครงสร้างเสาเข็ม การที่คอนกรีตนั้นไม่เกิดการหุ้มผิวของเหล็กเสริม การที่เศษดินนั้นเกิดการตกค้างอยู่ที่บริเวณปลายล่างสุดของโครงสร้างเสาเข็ม การเกิดรอยร้าวที่มีลักษณะขนานตัวกันกับแนวแกนของโครงสร้างเสาเข็ม เป็นต้นนะครับ

ผมคิดว่าตลอดสี่สัปดาห์ที่ผ่านมาที่ผมได้นำเอาความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องการทดสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างเสาเข็มโดยวิธีการใส่แรงกระแทกเข้าไปที่ส่วนบนของโครงสร้างเสาเข็มมาอธิบายให้กับเพื่อนๆ ได้ทำความเข้าใจกัน น่าจะทำให้เพื่อนๆ นั้นมีความรู้และความเข้าใจถึงเรื่องๆ นี้ได้ดีและมากยิ่งขึ้นไม่มากก็น้อยนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็มและฐานราก
#การทดสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้างเสาเข็ม
#ครั้งที่4
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) 

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 
☎️ 082-790-1448 
☎️ 082-790-1449 
☎️ 091-9478-945 
☎️ 091-8954-269 
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam