คุณสมบัติ
คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบสำหรับ โครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง และมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างฉับพลันอยู่สม่ำเสมอ โดยการเพิ่มปริมาณฟองอากาศในเนื้อคอนกรีต เพื่อรองรับการขยายตัวของน้ำในเนื้อคอนกรีต เนื่องจากน้ำมีการเปลี่ยนแปลงปริมาตร เมื่อน้ำมีการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง ส่วนผสมของคอนกรีตประเภทนี้มีการผสมน้ำยากักกระจายฟองอากาศ ตามมาตรฐาน ASTM C 260 เพื่อเพิ่มฟองอากาศภายในเนื้อคอนกรีต และสารลดปริมาณน้ำและหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494 เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานได้ รวมถึงระยะเวลาการทำงานสำหรับงานคอนกรีตที่นานขึ้น
ขั้นตอนการทำงาน
คอนกรีตประเภทนี้เหมาะสำหรับงาน เช่น ห้องแช่แข็ง ห้องเย็น สำหรับค่ากำลังอัดและค่าการยุบตัวขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า
ข้อแนะนำ
1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง เป็นต้น
2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการจี้เขย่าคอนกรีตอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว
3. การเทคอนกรีตประเภทนี้ ควรหลีกเลี่ยงการเทในที่ปิด เพราะคอนกรีตประเภทนี้ ให้ความร้อนในการทำปฏิกิริยาสูง เนื่องจากปริมาณปูนซีเมนต์ที่ใช้ในส่วนผสมคอนกรีต มีปริมาณสูงกว่าส่วนผสมของคอนกรีตปกติ เพื่อชดเชยในเรื่องของกำลังอัดที่สูญเสียไปเนื่องจากฟองอากาศในเนื้อคอนกรีต ที่เพิ่มมากขึ้น
4. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ลดปัญหา ในเรื่องของการแตกร้าว ของคอนกรีตเนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์