สมการในการคำนวณหาหน่วยแรงลมสถิตเทียบเท่า

สวัสดีครับ สาระดีดีเกี่ยวกับการก่อสร้างและวิศวกรรม กับ Mr.เสาเข็ม มาอีกแล้วนะครับ วันนี้จะเป็นหัวข้อ สมการในการคำนวณหาหน่วยแรงลมสถิตเทียบเท่า

สมการแรงลม

สมการในการคำนวณหาหน่วยแรงลมสถิตเทียบเท่าจะพบว่าหน้าตาของสมการนี้เป็นดังต่อไปนี้นะครับ

P = Iw q Ce Cg Cp

ในวันนี้ผมอยากที่จะขออนุญาตมาขยายความถึงค่า Iw จากในสมการข้างต้น ซึ่งค่านี้ก็คือค่าประกอบความสำคัญของแรงลม ซึ่งจะสามารถจำแนกออกได้ตามลักษณะประเภทของอาคารโดยเกณฑ์ที่จะใช้ในการคำนึงถึง คือ ความสำคัญของอาคารที่มีต่อสาธารณชนเป็นหลักนะครับ

เราสามารถที่จะคำนวณค่าๆ นี้ได้จากในตารางที่แสดงอยุ่ในรูปที่ผมแนบมาด้วยนะครับ โดยหากดูในตารางจะพบว่า ค่าประกอบความสำคัญของแรงลม นั้นจะขึ้นกับ ประเภทของอาคารตามความสำคัญของการใช้งาน นะครับ โดยแบ่งออกตามความสำคัญของอาคารตามลำดับต่อไปนี้นะครับ

ประเภทความสำคัญของอาคาร น้อย
ได้แก่ อาคาร หรือ ส่วนโครงสร้างอื่นๆ ที่เมื่อโครงสร้างของอาคารนั้นๆ เกิดการพังทลายลงแล้วจะมีปัจจัยเสี่ยงภัยอันตรายต่อชีวิตของมนุษย์ที่ค่อนข้าง น้อย นะครับ เช่น
-อาคารที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร
-อาคารชั่วคราว
-อาคารเก็บของเล็กๆ ซึ่งไม่มีความสำคัญ

ประเภทความสำคัญของอาคาร ปกติ
ได้แก่ อาคาร และ ส่วนโครงสร้างอื่นๆ ที่ไม่จัดอยู่ในอาคารประเภทความสำคัญ น้อย มาก และ สูงมาก

ประเภทความสำคัญของอาคาร มาก
ได้แก่ อาคาร และ ส่วนโครงสร้างอื่นๆ ที่หากเกิดการพังทลายลงแล้ว จะเป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์ และ สาธารณชนอย่างมาก เช่น
– อาคารที่เป็นที่ชุมนุมคนในพื้นที่หนึ่งๆ มากกว่า 300 คน
– โรงเรียนประถม และ มัธยมศึกษาที่มีความจุคนมากกว่า 250 คน
– มหาวิทยาลัย และ วิทยาลัย ที่มีความจุคนมากกว่า 500 คน
– สถานรักษาพยาบาลที่มีความจุคนไข้มากกว่า 50 คน แต่ ไม่สามารถทำการรักษากรณีฉุกเฉินได้
– เรือนจำ และ สถานกักกันนักโทษ
นอกจากลักษณะของอาคารข้างต้นแล้วยังรวมไปถึงอาคาร และ ส่วนโครงสร้างอื่นๆ ที่มีความจำเป็นต่อความเป็นอยู่ของ
สาธารณชน และ ไม่จัดอยู่ในประเภทความสำคัญสูงมาก เช่น
– สถานีจ่ายไฟฟ้า
– โรงผลิตน้ำประปา
– ศูนย์สื่อสารต่างๆ

ประเภทความสำคัญของอาคาร สูงมาก
ได้แก่ อาคาร และ ส่วนโครงสร้างอื่นๆ ที่มีความจำเป็นต่อความเป็นอยู่ของสาธารณชนเป็นอย่างมากเลยนะครับ เช่น
– โรงพยาบาลที่สามารถทำการรักษากรณีฉุกเฉินได้
– สถานีตำรวจ สถานีดับเพลิง และ โรงเก็บรถฉุกเฉินต่างๆ
– ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย
– สถานีสื่อสารต่างๆ ที่ต้องการการให้บริการอย่างเร่งด่วนเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินขึ้น
– ถังเก็บน้ำ และ สถานีสูบจ่ายน้ำที่มีความดันสูง
– อาคาร หรือ ส่วนโครงสร้างในส่วนของการผลิต การจัดการ การจัดเก็บ หรือ การใช้สารพิษ เช่น เชื้อเพลิง หรือสารเคมีอันก่อให้เกิดการระเบิดขึ้นได้

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1494335963945857

BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
2) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand
รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449