การคำนวณความยาวของการตัดเหล็กปลอกนั้นทำได้ยากหรืออย่างไร
ขอตอบตรงนี้เลยนะครับว่า ไม่ยากครับ แต่ ด้วยความที่มันง่ายนั้นเพื่อนๆ หลายคนก็มักที่จะลืมคิดถึงปัจจัยอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง ทำให้บางครั้งการดัดเหล็กปลอกจริงๆ นั้นทำออกมาแล้วมีระยะที่สั้นกว่าระยะตามมาตรฐานซึ่งจะเป็นทำให้ต้องทำการดัดเหล็กปลอกนี้ใหม่ และ ในบางครั้งก็มีระยะที่ยาวมากเกินความจำเป็นทำให้สิ้นเปลืองเหล็กมากจนเกินไป ตัวอย่างเช่น ระยะของเหล็กที่เกิดจากองศาการงอที่มุมต่างๆ ของหน้าตัดโครงสร้าง เพราะ ระยะนี้จะขึ้นกับระยะ สผก ของเหล็กปลอกและเหล็กยืนเป็นหลัก โดยต้องนำสองค่านี้มาเปรียบเทียบกันและใช้ค่ามากเป็นเกณฑ์ ส่วนระยะยื่นที่ปลายการดัดก็เช่น เพราะ ระยะนี้ตามปกติแล้วจะใช้เท่ากับ 6 เท่าของระยะ สผก ของเหล็กปลอก เป็นต้นนะครับ
โดยในวันนี้ผมจะมาแนะนำสมการง่ายๆ ในการคำนวณระยะนี้นะครับ และ จะมาทำการเปรียบเทียบผลด้วยว่าใกล้เคียงมากน้อยขนาดไหนนะครับ สมการนี้คือ
Ls = 2(X+Y) + 300 mm
โดยที่
X คือ ระยะในแนวราบลบด้วย 100 มม
Y คือ ระยะในแนวดิ่งลบด้วย 100 มม
เรามาดูรูปประกอบกันก่อนนะครับ โดยในรูปๆ นี้เป็นหน้าตัดโครงสร้างคานใช้ภายในอาคารขนาด 300 x 600 มม ใช้เหล็กปลอก สผก เท่ากับ 12 มม และ ทำให้มีระยะคอนกรีตที่หุ้มเหล็กปลอกอยู่เท่ากับ 30 มม จงคำนวณระยะความยาวของเหล็กปลอกนี้กันนะครับ
เริ่มจากการแทนค่าในสมการนี้ก่อนนะครับ
ระยะ X = 300-100 = 200 มม
ระยะ Y = 600-100 = 500 มม
ดังนั้น
L = 2(200+500) + 300 = 1700 มม
ต่อมามาดูระยะในการดัดเหล็กจริงๆ ในคานๆ นี้กันนะครับ โดยผมจับเอาจากในโปรแกรมเลยเท่ากับ 1525 มม ส่วนระยะยื่นที่ปลายการดัดเท่ากับ 6×12 + 5 = 78 หรือ ประมาณ 80 มม ดังนั้นสองข้างจะรวมเป็น 160 มม ทำให้นะยะที่ใช้จริงๆ ทั้งหมดจะมีค่าเท่ากับ
L = 1525 + 160 = 1685 มม
จะเห็นว่าระยะที่ใช้จริงนั้นจะมีค่า น้อยกว่า สมการอย่างง่าย ที่ผมได้ให้ไว้เพียง 15 มม เท่านั้นเองนะครับ ซึ่งถือว่าระยะนี้มีค่าน้อยมากๆ ดังนั้นจึงถือว่าค่าๆ นี้สามารถเป็นที่ยอมรับได้ครับ
จะเห็นได้ว่าเหล็กปลอกขนาด 12 มม นี้จะถือว่าเป็นขนาดที่ใหญ่ที่สุดที่เรานำมาใช้ทำเหล็กปลอกแล้วนะครับ นานๆ ครั้งจริงๆ เราจึงจะเจอเหล็กขนาด 16 มม ถูกนำมาทำเหล็กปลอก ทั้งนี้เป็นเพราะว่ายิ่งเหล็กมีขนาดใหญ่มากเท่าใดก็จะยิ่งถูกทำการดัดขึ้นรูปได้ยากเท่านั้นครับ ดังนั้นหากขนาดเหล็กปลอกนั้นลดลง เช่น 9 มม หรือ 6 มม เป็นต้น ระยะส่วนเหลือนี้ก็จะเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยนะครับ ยิ่งลักษณะการใช้งานของโครงสร้างนั้นเปลี่ยนไป เช่น แทนที่จะเป็นโครงสร้างที่ทำการก่อสร้างภายนอกของอาคารซึ่งจะทำให้มีระยะหุ้มของคอนกรีตที่มากขึ้นกว่าใน ตย นี้ก็จะส่งผลในทำนองเดียวกันนี้ครับ
ดังนั้นสมการอย่างง่ายนี้จึงเหมาะที่จะนำมาคิดประมาณการราคาค่าก่อสร้าง แต่ อาจจะไม่เหมาะสำหรับการทำงานจริงๆ ในบางกรณี ซึ่งพอเป็นการทำงานจริงๆ ควรปรึกษากับช่างที่ทำหน้าที่ดัดเหล้กเสียก่อนนะครับว่าควรคำนวณระยะนี้ออกมาเท่าใด ทั้งนี้ก็เพื่อมิให้ความยาวนี้ออกมาสั้นกว่าที่ได้กำหนดเอาไว้ตามมาตรฐาน หรือ ยาวเกินไปจนเกิดความสิ้นเปลืองค่าก่อสร้างนั่นเองนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1556619431050843
BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
ID LINE :
LINE ID1 = bhumisiam
LINE ID2 = 0827901447
LINE ID3 = 0827901448
LINE ID4 = bsp15
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด
http://www.ไมโครไพล์.com
#Micropile
#SpunMicropile
#ไมโครไพล์
#สปันไมโครไพล์
#เสาเข็มไมโครไพล์
#เสาเข็มสปันไมโครไพล์