การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างเหล็ก (STRUCTURAL STEEL ENGINEERING DESIGN หรือ SCE)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง เหล็ก (STRUCTURAL STEEL ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยและมา DISCUSS ร่วมกันกับเพื่อนๆ ถึงประเด็นคำถามที่ผมได้ฝากเอาไว้ตั้งแต่เมื่อวานนั่นก็คือ

ตามปกติแล้วเมื่อเราทำการออกแบบโครงสร้างเหล็กที่มีหน้าตัดนั้นเป็น ชิ้นส่วนแท่ง หรือว่า BAR ELEMENT ซึ่งเราทราบดีว่า ชิ้นส่วนประเภทนี้จะมีเฉพาะ แรงตามแนวแกน หรือว่า AXIAL LOAD เพียงเท่านั้น ดังนั้นเวลาที่เราทำการออกแบบ จุดต่อ หรือว่า CONNECTION และ ทำการยึดโยงเข้ากับโครงสร้างคอนกรีตที่เป็นฐานรองรับด้วย สลักเกลียวแบบฝังยึด หรือว่า ANCHOR BOLT เราก็มักจะพบว่า แรงภายในที่เกิดขึ้นใน สลักเกลียวแบบฝังยึด นั้นจะมีเฉพาะ แรงตามแนวแกน หรือว่า AXIAL FORCE และ แรงเฉือน หรือว่า SHEAR FORCE เท่านั้นนะครับ แต่ จากในรูปๆ นี้เป็นรูปที่แสดงให้เราเห็นถึงการใช้ ชิ้นส่วนแท่ง เช่นกัน แต่ การยึดโยงนั้นมีลักษณะที่ค่อนข้างมีความแปลกออกไปจากปกติที่เคยเห็นกัน ซึ่งคำถามก็คือ เพื่อนๆ คิดว่า ที่จุดต่อๆ นี้แรงภายในที่จะเกิดขึ้นที่ตัว สลักเกลียวแบบฝังยึด จะยังคงมีเฉพาะ แรงตามแนวแกน และ แรงเฉือน เหมือนเดิมหรือไม่ครับ ?

คำตอบ คือ หากทำการเปรียบเทียบ ลักษณะ และ ผล ของแรงลัพธ์ในชิ้นส่วน สลักเกลียวแบบฝังยึด จากจุดต่อทั้งสอง แน่นอนว่าย่อมให้ผลที่ต่างกันออกไปครับ

เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา และ จะได้เห็นภาพกันได้ชัดเจนที่สุด ผมจะขออนุญาตทำการอธิบายจากรูปที่แสดงเลยก็แล้วกันนะครับ

(รูปที่ 1)

 

(รูปที่ 2)

โดยหากเพื่อนๆ ดูรูปที่ 1 ก่อน จะสามารถสังเกตเห็นได้ว่าใน สี่เหลี่ยมสีดำ ซึ่งจะแสดงถึง แรงลัพธ์ และ แรงย่อย ที่เกิดขึ้นในจุดต่อของ CANOPY โดยที่ ลูกศรสีแดง จะหมายถึง แรงลัพธ์ ส่วน ลูกศรสีดำ จะหมายถึง แรงย่อย โดยที่เราทราบกันดีอยู่แล้วจากหลักการของเวกเตอร์ว่า หากชิ้นส่วนที่ถ่าย นน ของ แรงลัพธ์ มานั้นกระทำมาในมุมทแยง ตัวรับ นน ของจุดต่อซึ่งในที่นี้ คือ สลักเกลียวแบบฝังยึด จะต้องประกอบไปด้วย 2 แรงย่อย

สำหรับรูปที่ 1 (รูปบน) กรณี CANOPY ทั่วๆ ไป เมื่อ นน ที่ถูกถ่ายมาจากชิ้นส่วนเหล็กเป็น แรงลัพธ์ ชนิด แรงดึง จะทำให้ ตัวแผ่นเหล็ก และ ตัวสลักเกลียวแบบฝังยึด ประกอบไปด้วย แรงย่อย 2 แรง นั่นก็คือ ในแกน x จะเป็น แรงตามแนวแกน (แรงดึง) แต่ ในแกน y จะเป็น แรงเฉือน ซึ่งหากดูในรูปที่ 2 (รูปบน) ก็จะเห็นได้ว่าสำหรับกรณีนี้แรงลัพธ์นั้นจะค่อนข้างมีความตรงไปตรงมา

สำหรับรูปที่ 1 (รูปล่าง) กรณี CANOPY จากในรูปที่ผมถามเพื่อนๆ ไป เมื่อ นน ที่ถูกถ่ายมาจากชิ้นส่วนเหล็กเป็น แรงลัพธ์ ชนิด แรงดึง จะทำให้ ชิ้นส่วนเหล็กอีก 1 ชิ้นที่จะยึดเข้าที่ด้านหน้าของ ตัวแผ่นเหล็ก ประกอบไปด้วย แรงย่อย 2 แรง นั่นก็คือ ในแกน y จะเป็น แรงเฉือน และ ในแกน z ก็จะเป็น แรงเฉือน อีกเช่นกัน ซึ่งแรงเหล่านี้ยัง “ไม่ถือว่า” เป็นแรงลัพธ์ บน ตัวสลักเกลียวแบบฝังยึด นะครับ เราจะต้องทำการถ่ายแรงเหล่านี้มาที่ ตัวสลักเกลียวแบบฝังยึด เสียก่อน ซึ่งหากดูในรูปที่ 2 (รูปล่าง) ก็จะเห็นได้ว่าสำหรับกรณีนี้แรงลัพธ์ใน ตัวสลักเกลียวแบบฝังยึด จะไม่ได้มีความตรงไปตรงมาเหมือนกรณีของ CANOPY ทั่วๆ ไป เพราะ สุดท้ายแรงที่จะต้องถูกถ่ายไปยัง ตัวสลักเกลียวแบบฝังยึด จะมีทั้ง แรงเฉือน แรงดึง (แรงถอนตามแนวแกนเนื่องจากโมเมนต์) และ แรงอัด (แรงกดตามแนวแกนเนื่องจากโมเมนต์) ซึ่งหลายๆ ครั้งเลยที่เรามักจะหลีกเลี่ยงมิให้ สลักเกลียวแบบฝังยึด นั้นต้องจะรับ แรงดึง เพราะเรื่อง แรงยึดเหนี่ยว นั้นเป็นอะไรที่ควบคุมคุณสมบัติได้ยากพอสมควร โดยเฉพาะเมื่อ สลักเกลียวแบบฝังยึด นั้นเป็น สลักเกลียวแบบฝังยึดชนิดฝังโดยการระบิดปลาย (EXPANSION ANCHOR BOLT) หรือ ชนิดใช้น้ำยาเคมี (CHEMICAL ADHESIVE ANCHOR BOLT)

สรุป จุดต่อในลักษณะแบบนี้เป็นรายละเอียดที่เราควรที่จะหลีกเลี่ยง และ ไม่ควรนำมาใช้งานนอกจากในกรณีที่มีความจำเป็นจริงๆ เท่านั้น เนื่องจากจุดต่อในลักษณะแบบนี้จะมีภาระของแรงกระทำที่มากกว่าจุดต่อของ CANOPY แบบทั่วๆ ไปค่อนข้างมากเลยทีเดียวครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com