สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง เหล็ก (STRUCTURAL STEEL ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยและมา DISCUSS ร่วมกันกับเพื่อนๆ ถึงประเด็นคำถามที่ผมได้ฝากเอาไว้ตั้งแต่เมื่อวานนั่นก็คือ
ผมได้ทำการขออนุญาตทำการสมมติว่าเพื่อนๆ ต้องทำหน้าที่เป็น ผู้ออกแบบ หรือ ผู้ควบคุมการทำงานก่อสร้างจุดต่อระหว่างชิ้นส่วนโครงสร้างเสาเหล็ก (STEEL COLUMN) กับชิ้นส่วนจุดรองรับที่เป็นตอม่อคอนกรีต โดยข้อมูลที่เราทราบนั้นมี
(1) โครงสร้างๆ นี้จะทำหน้าที่ในการรองรับเครื่องจักรที่มีการสั่นตัว (VIBRATION) เกือบจะตลอดเวลา
(2) จุดต่อๆ นี้จะเป็นจุดต่อแบบยึดแน่น (FIXED SUPPORT) ในทั้งสองทิศทาง นั่นก็คือทั้งแกน X และแกน Y
(3) ขนาดของสลักเกลียวแบบฝังยึด (ANCHOR BOLT) ขนาด 20 มม ความลึกของการฝังจะเท่ากับ 1200 มม
ซึ่งจากรูปจะเห็นว่า จะมีจุดต่อทั้งหมด 5 แบบ ได้แก่แบบ A B C D และ E และ ในทุกๆ แบบจะมีการติดตั้งตัวสลักเกลียวแบบฝังยึดด้วยขนาดและความยาวตามข้อมูลในข้อ (3) ซึ่งคำถามก็คือ เพื่อนๆ มีความคิดว่า หากจะทำการก่อสร้างจุดต่อนี้ ควรจะทำตามแบบใด ระหว่างตัวเลือก A B C D และ E จุดต่อแบบใดที่จะมีความเหมาะสมสำหรับการนำมาก่อสร้างมากที่สุดครับ ?
หากเราจะทำการกำหนดว่าจุดต่อๆ นี้มีสภาพเป็น จุดต่อแบบยึดแน่น (FIXED SUPPORT) ซึ่งจุดต่อลักษณะดังกล่าวต้องมีความสามรถในการรับแรงได้ในทุกทิศทุกทางเลย เช่น แรงดัด (FLEXURAL FORCE) แรงเฉือน (SHEAR FORCE) แรงบิด (TORSIONAL FORCE) เป็นต้นนะครับ
หากเราเลือกจุดต่อในข้อ A จะเห็นได้ว่าการใช้ สลักเกลียวแบบฝังยึด ตามรูปๆ นี้จะสามารถรับโมเมนต์ดัดรอบแกน Y ได้ แต่ จะไม่สามารถรับโมเมนต์ดัดรอบแกน X ได้ ซึ่งเท่ากับว่าการทำการก่อสร้างจุดต่อแบบนี้จะมีความไม่สอดคล้องกันกับ BOUNDARY CONDITIONS ของจุดต่อประเภทนี้ ดังนั้นเราก็ไม่อาจที่จะใช้รายละเอียดของจุดต่อตามข้อนี้นะครับ
หากเราเลือกจุดต่อในข้อ B จะเห็นได้ว่าการใช้ สลักเกลียวแบบฝังยึด ตามรูปๆ นี้จะสามารถรับโมเมนต์ดัดรอบแกน X ได้ แต่ จะไม่สามารถรับโมเมนต์ดัดรอบแกน Y ได้ ซึ่งเท่ากับว่าการทำการก่อสร้างจุดต่อแบบนี้จะมีความไม่สอดคล้องกันกับ BOUNDARY CONDITIONS ของจุดต่อประเภทนี้ ดังนั้นเราก็ไม่อาจที่จะใช้รายละเอียดของจุดต่อตามข้อนี้นะครับ
หากเราเลือกจุดต่อในข้อ C จะเห็นได้ว่าการใช้ สลักเกลียวแบบฝังยึด ตามรูปๆ นี้จะสามารถรับโมเมนต์ดัดรอบแกน X และ Y ได้นะครับ ซึ่งเท่ากับว่าการทำการก่อสร้างจุดต่อแบบนี้จะมีความไม่สอดคล้องกันกับ BOUNDARY CONDITIONS ของจุดต่อประเภทนี้ แต่ หากสังเกตดูดีๆ ก็จะพบว่าการทำการก่อสร้าง สลักเกลียวแบบฝังยึด ตามรูปแบบๆ นี้จะทำให้จุดต่อๆ นี้ขาดคุณสมบัติทางด้านความสมมาตร (SYMMETRY) ไปซึ่งลักษณะของจุดต่อที่ขาดคุณสมบัติทางด้านความสมมาตรไปนั้นจะมีคุณสมบัติทางด้าน เสถียรภาพ (STABILITY) และ การรับกำลัง (STRENGTH) ที่ถือว่าไม่ดีเท่าใดนัก ดังนั้นเราก็อาจที่จะไม่ควรใช้รายละเอียดของจุดต่อตามข้อนี้นะครับ
หากเราเลือกจุดต่อในข้อ D จะเห็นได้ว่าการใช้ สลักเกลียวแบบฝังยึด ตามรูปๆ นี้จะสามารถรับโมเมนต์ดัดรอบแกน X และ Y ได้ ซึ่งเท่ากับว่าการทำการก่อสร้างจุดต่อแบบนี้จะมีความสอดคล้องกันกับ BOUNDARY CONDITIONS ของจุดต่อประเภทนี้ และ หากเราทำการก่อสร้าง สลักเกลียวแบบฝังยึด ตามรูปแบบๆ นี้ก็จะทำให้จุดต่อๆ นี้มีคุณสมบัติทางด้านความสมมาตรที่ดีด้วย ดังนั้นหากเราจะใช้รายละเอียดของจุดต่อตามข้อนี้ก็ถือว่าสามารถทำได้นะครับ
หากเราเลือกจุดต่อในข้อ E จะเห็นได้ว่าการใช้ สลักเกลียวแบบฝังยึด ตามรูปๆ นี้จะสามารถรับโมเมนต์ดัดรอบแกน X และ Y ได้ ซึ่งเท่ากับว่าการทำการก่อสร้างจุดต่อแบบนี้จะมีความสอดคล้องกันกับ BOUNDARY CONDITIONS ของจุดต่อประเภทนี้ และ หากเราทำการก่อสร้าง สลักเกลียวแบบฝังยึด ตามรูปแบบๆ นี้ก็จะทำให้จุดต่อๆ นี้มีคุณสมบัติทางด้านความสมมาตรที่ดีด้วย แต่ สิ่งที่ทำให้จุดต่อในข้อ E นี้มีความพิเศษแตกต่างออกไปจากจุดต่อ D คือ จุดต่อ E นี้จะมีการเสริมด้วย NUTS และ WASHERS เพิ่มอีก 1 ตัว เป็นทั้งหมด 2 ตัว ไม่ใช่เพียง 1 ตัวเหมือนในข้อ D ซึ่งเราทราบดีว่าการทำ NUTS และ WASHERS ให้เป็นแบบ DOUBLE นั้นจะเหมาะต่อกรณีที่โครงสร้างนั้นๆ จะเกิดแรงสั่นไหวซึ่งจะตรงกันกับกรณีคุณสมบัติในโครงสร้างของเรา ดังนั้นหากเราจะใช้รายละเอียดของจุดต่อตามข้อนี้ก็ถือได้ว่ามีความเหมาะสมที่สุดจากบรรดาทุกๆ ข้อที่กล่าวมานะครับ
สรุป ควรที่จะเลือกจุดต่อในข้อ E เพราะ รายละเอียดของ สลักเกลียวแบบฝังยึด ตามข้อนี้จะมีความสอดคล้องกันกับ BOUNDARY CONDITIONS ของจุดต่อ และ รายละเอียดของจุดต่อยังถือได้ว่าเป็นแบบสมมาตร และ ที่สำคัญคือมีการใช้ NUTS และ WASHERS แบบ 2 ตัว ซึ่งจะมีความเหมาะสมกับกรณีคุณสมบัติในการรับแรงของโครงสร้างของเรามากที่สุดนั่นเองครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com