การรับแรงดึงของเสาเข็ม เมื่อเสาเข็มวางอยู่ในดิน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้านี้ผมได้ทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง การรับแรงดึงของเสาเข็ม เมื่อเสาเข็มวางอยู่ในดินว่ามีความจำเป็นอย่างไรเราถึงต้องทำการออกแบบให้ต้องมี เหล็กเดือย หรือ DOWEL BAR ให้อยู่ในบริเวณรอยต่อระหว่างโครงสร้างเสาเข็มและฐานราก ปรากฏว่าวันนี้ก็มีภาพกรณี ตย ของการที่โครงสร้างที่ตัวเสาเข็มและฐานรากจะมีโอกาสต้องรับแรงดึงแต่ปรากฏว่าไม่มีการใส่เหล็กเดือยให้เห็นเลย วันนี้ผมเลยขออนุญาตนำเอาภาพเหตุการณ์ๆ นี้มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนเพื่อเป็นวิทยาทานและอุทาหรณ์ก็แล้วกัน โดยถ้าหากข้อมูลที่ผมได้รับมานั้นไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนไป เหตุการณ์ๆ นี้เกิดขึ้นในต่างจังหวัด ไม่ใช่ในเขตกรุงเทพมหานครฯ นะครับ

 

เราจะสามารถสังเกตเห็นได้ว่าโครงสร้างดังกล่าวนั้นเกิดการวิบัติอันเนื่องมาจากแรงกระทำทางด้านข้าง หรือ LATERAL LOAD ซึ่งก็คือ แรงลม หรือ WIND LOAD ซึ่งตามที่ผมได้อธิบายไปก่อนหน้านี้แล้วว่า เจ้าแรงกระทำชนิดนี้เองที่จะทำให้โครงสร้างฐานรากของเรานั้นมีโอกาสที่จะต้องทำหน้าที่รับทั้ง แรงดึง หรือ TENSION FORCE และ แรงอัด หรือ COMPRESSION FORCE ในเวลาเดียวกัน เพราะหากสังเกตให้ดีๆ ก็จะพบด้วยว่าโครงสร้างที่วิบัติไปนี้เป็นเพียงโครงสร้างชายคาที่ทำหน้าที่ในการบังแดดบังลมและฝนให้แก่รถยนต์และผู้คนเพียงเท่านั้น ซึ่งโครงสร้างในลักษณะดังกล่าวไม่ถือว่าเป็น โครงสร้างหลัก (MAIN STRUCTURE) หรือ โครงสร้างแบบถาวร (PERMANENT STRUCTURE) แต่อย่างใดเลย แต่ หากมาดูความเสียหายที่เกิดขึ้นก็จะพบว่ามีความเสียหายไม่น้อยเลย เพราะ นอกจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวโครงสร้างเองแล้ว ก็ยังพบได้ว่าจะมีความเสียหายต่อรถราที่จอดอยู่ข้างใต้โครงสร้างนี้อีกเป็นจำนวนไม่น้อยเลย นี่ยังไม่นับรวมถึงชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนที่คอยอาศัยโครงสร้างดังกล่าวเพื่อเป็นที่กำบังต่อลมและฝนที่เกิดขึ้นในขณะที่เกิดเหตุการณ์โครงสร้างนั้นเกิดการวิบัติอีกต่างหากนะครับ

 

ดังนั้นผมจึงอยากที่จะขอให้พวกเราทุกๆ คนช่วยกันตระหนักในข้อเท็จจริงข้อนี้กันด้วยว่า การที่เราละเลย หรือ บางครั้งก็อาจจะต้องการทำงานกันแบบง่ายๆ ซึ่งบางครั้งก็ง่ายจนเกินไป หรือ บางครั้งเราอาจต้องการที่จะประหยัดเงินค่าก่อสร้างไปบ้าง ซึ่งบางครั้งเพื่อนๆ ก็ลองคำนวณดูกันเล่นๆ เอาเองนะครับว่าจำนวนเงินที่เราสามารถที่จะประหยัดจากการที่เราไม่ใส่เหล็กเดือยเข้าไปในบริเวณนี้ของโครงสร้างมันจะสักกี่สตางค์กันเชียวครับ ? มันจะประหยัดได้คุ้มค่ากับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหรือไม่ ? เพื่อนๆ คงจะต้องลองคิดและตัดสินใจกันเอาเองแล้วละครับ

 

หากเพื่อนๆ เลือกใช้เสาเข็มของภูมิสยามฯ เพื่อนๆ จะไม่พบเจอกับปัญหาเรื่องเหล็กเดือยนี้เลยละครับ เพราะ ว่าภายในเสาเข็มของภูมิสยามฯ นั้นจะมีเหล็กเสริมหลักที่ได้รับการออกแบบให้คอยทำหน้าที่ในการรับกำลังต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างเสาเข็มอยู่ภายในตัวเสาเข็มเองอยู่แล้ว ดังนั้นเราสามารถที่จะใช้เหล็กเสริมเหล่านี้ให้ทำหน้าที่เป็นเหล็กเดือยได้เลย เพราะ ถ้าหากเราทำการเปรียบเทียบขนาดของเหล็กเสริมภายในเสาเข็มของภูมิสยามฯ กับเหล็กเสริมหรือลวดอัดแรงที่อยู่ในเสาเข็มชนิดทั่วๆ ไปแล้วเราก็จะพบว่าเหล็กเสริมเหล่านี้มีขนาดที่ใหญ่กว่ามาก ทำให้มีความเหมาะสมและสามารถที่จะนำมาใช้ทำหน้าที่ในการถ่ายแรงดึงที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งข้อนี้เองถือได้ว่าเป็นจุดประสงค์หลักของการที่เราใส่เหล็กเดือยเข้าไปในบริเวณจุดต่อของโครงสร้างๆ นี้นั่นเองครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการเจาะสำรวจดิน

#กรณีตัวอย่างการวิบัติของโครงสร้างอันเนื่องมาจากแรงกระทำทางด้านข้าง

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com