สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะมาร่วมกันเสวนาถึงคำถามที่ผมได้เชิญชวนให้เพื่อนๆ ให้มาร่วมสนุกตอบคำถามร่วมกันเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา โดยสืบเนื่องจากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นผมได้ทำการแชร์ความรู้แก่เพื่อนๆ ไปถึงเรื่อง การวิเคราะห์โครงสร้างอาคารสูงเชิงวิศวกรรมพลศาสตร์ ให้แก่เพื่อนๆ เกี่ยวกับเรื่องวิธีในการสร้าง LATERAL STIFFNESS MATRIX ของอาคารไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นในวันนี้ผมเลยคิดว่าน่าจะลองโพสต์ถามเพื่อนๆ ดูเพื่อที่จะตรวจสอบดูสิว่าเพื่อนๆ จะมีความเข้าใจในเรื่องๆ นี้มากน้อยเพียงใดและเหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ
จากรูปเป็นอาคารๆ หนึ่งที่มีขนาดความสูงทั้งหมดเท่ากับ 3 ชั้น หากผมได้ทำการคำนวณหาค่าความแข็งแกร่งต่อแรงกระทำทางด้านข้างต่อชั้นหรือว่าค่า LATERAL STIFFNESS PER FLOOR ของโครงสร้างอาคารนี้ออกมาแล้วพบว่า ค่าความแข็งแกร่งต่อแรงกระทำทางด้านข้างของชั้นที่ 1 นั้นมีค่าเท่ากับ 25 หน่วย ส่วนค่าความแข็งแกร่งต่อแรงกระทำทางด้านข้างของชั้นที่ 2 และ 3 นั้นมีค่าที่เท่าๆ กันนั่นก็คือเท่ากับ 20 หน่วย หากว่าผมจะให้เพื่อนๆ ทุกคนช่วยกันสร้างสร้าง LATERAL STIFFNESS MATRIX ของอาคารหลังนี้ ผมจึงอยากที่จะให้เพื่อนๆ ทุกคนได้ช่วยกันลองทำการคำนวณดูซิว่าค่า K11 K12 K13 K21 K22 K23 K31 K32 และ K33 ที่จะอยู่ภายในเจ้า LATERAL STIFFNESS MATRIX นี้จะมีค่าเท่ากับเท่าใดบ้างครับ ?
ทั้งนี้หากว่าเพื่อนๆ อยากที่จะลองย้อนทบทวนดูข้อมูลที่ผมเคยได้กล่าวถึงเรื่องๆ นี้ไปแล้ว ก็สามารถที่จะติดตามรับชมจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องนี้ได้จากโพสต์ของผมเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ที่ผ่านมาได้ เอาละเรามาเริ่มต้นกันเลยดีกว่านะครับ
โดยที่ผมจะขอกล่าวถึงค่าสัมประสิทธิ์ของเมตริกซ์ที่อยู่ในแนวทแยงมุมก่อนก็แล้วกัน เริ่มต้นจากค่า K11 ก่อน ซึ่งค่านี้จะมีค่าเท่ากับ k1 รวมกับ k2 ดังนั้นค่าของ K11 ก็จะมีค่าเท่ากับ
K11 = k1 + k2
K11 = 25 +20
K11 = 45 UNIT
ต่อมาก็คือค่าค่า K22 ซึ่งค่านี้จะมีค่าเท่ากับ k2 รวมกับ k3 ดังนั้นค่าของ K22 ก็จะมีค่าเท่ากับ
K22 = k2 + k3
K22 = 20 +20
K22 = 40 UNIT
สุดท้ายก็คือค่าค่า K33 ซึ่งค่านี้จะมีค่าเท่ากับ k3 ดังนั้นค่าของ K33 ก็จะมีค่าเท่ากับ
K33 = k3
K33 = 20 UNIT
ต่อมาเราจะมาพูดถึงค่าสัมประสิทธิ์ของเมตริกซ์ที่อยู่ที่ตำแหน่งอื่นๆ บ้าง ซึ่งอย่างที่ผมได้เน้นย้ำไปนะครับว่าเมตริกซ์เหล่านี้จะมีเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งนั่นก็คือ ข้อมูลของค่าสัมประสิทธิ์ของเมตริกซ์เหล่านี้จะมีความสมมาตรซึ่งกันและกัน ดังนั้นเราอาจจะเขียนไว้ก่อนเลยได้ว่า
K12 = K21
K13 = K31
และ
K23 = K32
เรามาเริ่มต้นกันที่ค่า K12 และ K21 เลยก็แล้วกัน ซึ่งค่าทั้งสองก็จะมีค่าเท่ากับค่า k1 แต่ว่าจะติดลบ ดังนั้นค่าของ K12 และ K21 ก็จะมีค่าเท่ากับ
K12 = K21 = -k1
K12 = K21 = -25 UNIT
ต่อมาก็คือค่า K13 และ K31 ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 0 ดังนั้นค่าของ K13 และ K31 ก็จะมีค่าเท่ากับ
K13 = K31 = 0
สุดท้ายก็คือค่า K23 และ K32 ซึ่งจะมีค่าเท่ากับค่า k2 แต่ว่าจะติดลบ ดังนั้นค่าของ K23 และ K32 ก็จะมีค่าเท่ากับ
K23 = K32 = -k2
K23 = K32 = -20 UNIT
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ผมคาดหมายว่า วิธีในการที่เราจะทำการหาค่าสัมประสิทธิ์ที่อยู่ภายในเจ้า LATERAL STIFFNESS MATRIX ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ในวันนี้จะไม่ได้มีความยุ่งยากมากจนเกินไปนัก ยังไงอยากให้เพื่อนๆ จดจำไปและนำไปฝึกฝนกันให้ดีเพราะเจ้า LATERAL STIFFNESS MATRIX นี้ถือเป็นส่วนแรกๆ ที่จะต้องทำก่อนการวิเคราะห์โครงสร้างเชิงพลศาสตร์เลย ดังนั้นหากทำการสร้างเจ้า LATERAL STIFFNESS MATRIX นี้ผิด คำตอบที่จะได้จากการวิเคราะห์ทั้งหมดก็จะผิดตามไปด้วยนั่นเองครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#การตอบคำถามทางวิชาการประจำสัปดาห์
#เฉลยปัญหาการคำนวณเมตริกซ์ความแข็งแกร่งต่อแรงกระทำทางด้านข้าง
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com