ระบบโครงสร้างฐานรากของอาคารในอดีตของประเทศไทย

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

 

ตามที่เพื่อนๆ ทราบกันดีว่าระบบฐานรากในปัจจุบันเราจะนิยมใช้เป็นเป็นระบบฐานราก ค.ส.ล โดยจะเป็นฐานรากที่วางลงไปบนดินโดยตรงซึ่งเราจะเรียกว่า BEARING FOUNDATION หรือว่าเป็น ฐานรากที่วางอยู่บนเสาเข็มซึ่งเราจะเรียกว่า PILE FOUNDATION แต่เพื่อนๆ ทราบหรือไม่ครับว่าในอาคารจำพวก วัดวาอารามหรือโบราณสถานที่เราอาจจะเห็นได้ในส่วนต่างๆ ของประเทศไทยเรานั้นมีการก่อสร้างโดยใช้ระบบฐานรากเป็นแบบใดกัน ?

ดังนั้นในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาพาเพื่อนๆ มาย้อนเวลากลับไปในอดีตกัน โดยที่ผมจะพาเพื่อนๆ ไปดูระบบโครงสร้างฐานรากของอาคารในอดีตของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น บ้าน วัด หรือ เจดีย์ เป็นต้นนะครับ

 

หากเพื่อนๆ ดูรูปประกอบก็จะเห็นได้ว่าลักษณะฐานรากของโบราณสถานของไทยนั้นถูกสร้างขึ้นโดยภูมิปัญญาของช่างท้องถิ่นจริงๆ ซึ่งเป็นเรื่องราวที่น่าทึ่งมากๆ และผมก็เชื่อว่าเพื่อนๆ ก็คงจะมีคำถามแน่ๆ ว่าคนในอดีตนั้นจะสามารถคิดค้นและทำการก่อสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาโดยปราศจากองค์ความรู้เหมือนเช่นในปัจจุบันนี้เหมือนที่พวกเรามีได้อย่างไร ?

 

เอาเป็นว่าพวกเค้าก็สร้างฐานรากที่จะทำหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักของอาคารต่างๆ มากันมาเยอะมากแล้ว โดยที่ฐานรากในอดีตนั้นก็ยังคงความมีคอนเซ็ปต์ที่เราอาจจะเรียกได้ว่าเป็น RULE OF THUMB ในการทำงานฐานรากในยุคปัจจุบันเลยก็ว่าได้ เช่น วิธีการคิดของช่างที่มีการคำนวณตามหลักการสมดุลเหมือนกันกับในรูปของฐานรากแบบแผ่ที่วางตัวอยู่บนโอ่งหรือไห ซึ่งแนวคิดนี้คือ เมื่อรวมเอาน้ำหนักของตัวอาคารกับตัวฐานรากเข้าด้วยกันแล้วจะต้องมีค่าเท่ากับหรือน้อยกว่าน้ำหนักของดินที่ทำการขุดออกไป หรือ ลักษณะของฐานรากนั้นจะยังคงความมีลักษณะเป็นโครงสร้างที่เป็น RIGID BODY เหมือนกันกับในรูปของฐานรากแบบแผ่ที่วางตัวอยู่บนท่อนซุงเรียงกันบนหินและ/หรืออิฐบดอัดแน่น หรือ ลักษณะของฐานรากนั้นจะมีลักษณะเป็นรูปทรงปีระมิดหรือพูดง่ายๆ ก็คือส่วนฐานที่อยู่ล่างสุดจะเกิดการแผ่ตัวออกหรือมีมุมที่ป้านออกไปเหมือนกันกับฐานของคลองรากที่วางตัวบนเข็ม เป็นต้นนะครับ

 

เอาเป็นว่าไม่ว่าช่างในอดีตเค้าจะมีวิธีการคิด คำนวณ และ ออกแบบระบบฐานรากในอดีตกันได้อย่างไรก็แล้วแต่ พวกเราในฐานะที่เป็นคนไทยในยุคปัจจุบันก็ควรที่จะภาคภูมิใจและควรที่จะธำมรงค์ไว้ซึ่งปูชนียสถานและโบราณสถานเหล่านี้เพื่อให้ลูกหลานของพวกเราได้เห็น ได้ศึกษาและได้ร่วมภาคภูมิใจเหมือนกันกับพวกเราด้วยนะครับ

 

ปล ผมต้องขอขอบคุณและต้องขออนุญาตนำเอารูปมาโพสต์ในวันนี้ ซึ่งรูปในวันนี้ผมได้นำมาจากบล็อก https://blog.rmutl.ac.th/suebpong/conweb/technic01.htm มา ณ โอกาสนี้ด้วยนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม
#ระบบโครงสร้างฐานรากของอาคารในอดีตของประเทศไทย

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com