บล็อค บทความเพื่อให้ความรู้ เกร็ดความรู้ ทางด้านวิศวกรรมการก่อสร้างและฐานรากด้วยเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาและตอบโจทย์การก่อสร้างได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
บทความใหม่ๆ อัพเดทบนเพจ ภูมิสยาม ไมโครไพล์ http://bit.ly/2O6GBMu

พฤติกรรมของการแตกร้าวในคอนกรีต

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันจันทร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ สืบเนื่องจากเมื่อในสัปดาห์ที่แล้วผมได้เดินทางไปตรวจสอบการทำงานที่หน้างานและก็มีน้องวิศวกรท่านหนึ่งสอบถามผมเกี่ยวกับเรื่อง “พฤติกรรมของการแตกร้าวในคอนกรีต” ซึ่งเอาเข้าจริงๆ ผมก็ได้ให้คำอธิบายในเบื้องต้นไปบ้างแล้ว ดังนั้นในทุกๆ วันจันทร์ของช่วงนี้ผมก็เลยอยากจะขออนุญาตนำเอาความรู้เกี่ยวกับเรื่อง คุณสมบัติเรื่องการแตกร้าวที่เกิดขึ้นในคอนกรีต เอามาเล่าสู่กันฟังกับเพื่อนๆ ซึ่งเนื้อหาโดยส่วนใหญ่นั้นตัวผมเองนั้นก็เคยได้นำเอามาเผยแพร่ให้กับเพื่อนๆ ในรูปแบบของบทความไปก็นานพอสมควรแล้วแต่ไม่เป็นไรนะ เอาเป็นว่าหากเพื่อนๆ ท่านใดที่อาจจะเคยได้มีโอกาสอ่านบทความในครั้งนั้น … Read More

เสาเข็มต่อเติมโรงงาน ที่นิคมอุตสาหกรรมบางชัน และ การทดสอบการรับน้ำหนัก โดย Dynamic Load Test

เสาเข็มต่อเติมโรงงาน ที่นิคมอุตสาหกรรมบางชัน และ การทดสอบการรับน้ำหนัก โดย Dynamic Load Test สวัสดีครับ ช่วงนี้งานต่อเติมโรงงาน ต่อเติมอาคาร หรือต่อเติมบ้านที่ให้บริการโดย BSP ภูมิสยาม กำลังมาแรงครับ และ ได้รับการตอบรับ อย่างต่อเนื่อง วันนี้ Mr.SpunMan … Read More

รอยร้าวที่เกิดขึ้น เนื่องจากอาคารเกิดการเสียรูปแบบแยกตัวหรือว่าเกิดการทรุดตัวที่มีความแตกต่างกัน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ โดยที่ผมจะนำเอาภาพของปัญหาๆ หนี่งที่พวกเรามักพบกันอยู่บ่อยๆ ในงานการก่อสร้างใหม่หรืองานก่อสร้างต่อเติมระหว่างอาคาร 2 อาคารนั่นก็คือ รอยร้าวที่เกิดขึ้นเนื่องจากอาคารทั้งสองนี้เกิดการเสียรูปแบบแยกตัวหรือว่าเกิดการทรุดตัวที่มีความแตกต่างกัน นั่นเองนะครับ จากรูปเพื่อนๆ จะสามารถเห็นได้ว่าที่บริเวณพื้นจะมีรอยร้าวเกิดขึ้นตลอดตามความกว้างของช่องทางเดิน ซึ่งก็จะเห็นได้ว่าได้มีการพยายามที่จะซ่อมแซมรอยร้าวดังกล่าวโดยการอุดด้วยวัสดุอุดรอยร้าวแต่ถึงกระนั้นก็ไม่สามารถที่จะทำให้รอยร้าวดังกล่าวหายไปได้อยู่ดีครับ   จริงๆ แล้วการที่เกิดรอยร้าวดังกล่าวนี้ขึ้นก็อาจจะไม่ได้ถือว่าเป็นปัญหาในการใช้งานโครงสร้างอาคารของเราเท่าใดนักนะครับ นั่นเป็นเพราะว่ารอยร้าวดังกล่าวนี้เกิดจากการที่อาคารทั้งสองนี้เกิดการการเสียรูปแบบแยกตัวหรือว่าเกิดการทรุดตัวที่มีความแตกต่างกัน … Read More

ตอบปัญหาการคำนวณหาค่าความสามารถในการรับแรงดึงสูงสุดที่ยอมให้ในเสาเข็ม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ จากรูปที่ผมได้แนบมาในโพสต์ๆ นี้จะแสดงให้เห็นถึงหน้าตัดของโครงสร้างเสาเข็มที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 300 มม ทั้งหน้าตัดรูปตัวไอ หน้าตัดรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส … Read More

1 16 17 18 19 20 21 22 186