ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล และการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

เนื่องจากเมื่อหลายสัปดาห์ก่อนหน้านี้ได้เกิดเหตุปัญหาต่างๆ ขึ้นและผมก็ได้ช่วยให้คำตอบแก่แฟนเพจไป ในที่สุดวันนี้เราก็ได้กลับมาเข้าสู่การโพสต์เนื้อหาตามปกติแล้วนะครับ ซึ่งในครั้งสุดท้ายที่ผมได้โพสต์ก็คือ ประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ค่าความสามารถในการรับกำลังแบกทานของดินตามทฤษฎีของ TERZAGHI ทั้งกรณีแบบที่มีน้ำใต้ดินและไม่มีน้ำใต้ดิน ดังนั้นในวันนี้ผมจะมาทำการอธิบายต่อถึงหัวข้อที่ว่า หากเราไม่ได้ทำการเก็บตัวอย่างของดินมาเพื่อทำการทดสอบหาคุณสมบัติต่างๆ ภายในห้องปฏิบัติการแล้วเราจะมีวิธีการอื่นๆ ที่จะสามารถใช้ประเมินค่าความสามารถในการรับกำลังแบกทานของดินได้หรือไม่ ?

 

คำตอบคือ มีครับ โดยเราจะเรียกวิธีการแบบนี้ว่า วิธีการทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกของดินในสนาม หรืออาจเรียกสั้นๆ ว่า FIELD SOIL TEST หรือ IN-SITU SOIL TEST ก็ได้ ซึ่งจริงๆ แล้วสามารถที่จะทำได้หลากหลายวิธีการเลยแต่ในโพสต์ของผมๆ ขออนุญาตหยิบยกเอาเฉพาะวิธีการที่เป็นที่นิยมโดยทั่วไปมาสัก 2 วิธีการนั่นก็คือ การทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกของดินในสนามโดยอาศัยวิธีการเจาะหยั่งแบบเบา หรือ LIGHT PENETROMETER TEST และการทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกของดินในสนามโดยอาศัยแผ่นเหล็กในการทดสอบ หรือ PLATE BEARING TEST โดยที่ในวันนี้ผมจะขอเริ่มต้นทำการอธิบายวิธีการแรกก่อนนั่นก็คือ การทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกของดินในสนามโดยอาศัยวิธีการเจาะหยั่งแบบเบา นะครับ

 

การทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกของดินในสนามโดยอาศัยวิธีการเจาะหยั่งแบบเบา ชื่อก็บอกชัดเจนอยู่แล้วนะครับว่าจะอาศัยเครื่องมือเจาะหยั่งแบบเบา โดยที่จะสามารถใช้เจาะหยั่งได้ทั้งดินที่มีขนาดเม็ดละเอียด(FINE GRAINED SOIL) เรื่อยไปจนถึงดินกรวดและสามารถที่จะทำการทดสอบได้ที่ระดับของความลึกโดยประมาณไม่เกิน 5 เมตร สืบเนื่องมาจากในขั้นตอนของการทดสอบนั้นจะใช้พลังงานที่ไม่สูงมากนัก โดยลูกตุ้มตอกที่จะใช้จะมีน้ำหนักประมาณ 10 กิโลกรัม โดยที่ผลจากการทำการเจาะหยั่งนั้นจะสามารถใช้ออกแบบฐานรากที่จะต้องรับน้ำหนักบรรทุกแบบต่ำไปจนถึงแบบสูงปานกลางนะครับ

 

วิธีในการทดสอบจะอาศัยแรงกระแทกของตัวตุ้มตอกทำหน้าที่ตอกส่งแท่งทดสอบผ่านชั้นดินลงไป ซึ่งแรงที่ทำหน้าที่ในการต้านการเคลื่อนที่ของแท่งทดสอบนี้เองที่จะสามารถนำไปใช้ประมาณค่ากำลังและความหนาของชั้นดินได้และที่สำคัญผลจากการทำการทดสอบดินโดยวิธีการนี้จะช่วยทำให้สามารถที่จะทราบคุณสมบัติทางกายภาพในเบื้องต้นของชั้นดินได้อีกด้วย ซึ่งสาเหตุที่วิธีการๆ นี้ค่อนข้างเป็นที่นิยมก็เพราะว่าจะสามรถทำการสำรวจค่าความสามารถในการรับน้ำหนักแบกทานของดินเพื่อนำใช้ออกแบบฐานรากที่จะต้องรับน้ำหนักบรรทุกแบบต่ำไปจนถึงแบบสูงปานกลางในเบื้องต้นได้ค่อนข้างแม่นยำในระดับหนึ่ง อีกทั้งวิธีการนี้ยังสามารถที่จะทำการเคลื่อนย้ายไปมาได้โดยง่ายอันเนื่องมาจากการที่อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการทดสอบนั้นมีน้ำหนักที่น้อยมากๆ ทำให้วิธีการนี้มีความเหมาะที่จะใช้กับดินที่อยู่ในบริเวณภูเขาสูง ป่ารก หรือ บริเวณที่อยู่ห่างไกลจากถนนมากๆ เราสามารถที่จะนำเอาผลจากการทดสอบดินโดยวิธีการนี้เพื่อไปใช้บอกถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพของชั้นดินได้และที่สำคัญวิธีการนี้ยังสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการเจาะสำรวจดินในห้องปฏิบัติการค่อนข้างมากเลยทีเดียวครับ

 

โดยที่หลักการของการทดสอบคือ เราจะทำการทดสอบกำลังต้านทานที่ปลายของหัวหยั่ง หรือ CONE HEAD โดยที่จะเป็นการทดสอบแบบที่ไม่ทำให้เกิดแรงเสียดทานขึ้นที่บริเวณของก้านเจาะเลย นั่นเป็นเพราะหัวเจาะที่ใช้ในการทดสอบจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าก้านเจาะ โดยที่หัวเจาะรูปกรวยจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 มม ตัวส่วนของก้านเจาะจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 มม เท่านั้นและเราก็จะใช้ค้อนที่มีน้ำหนักประมาณ 10 กิโลกรัม ในการทำการตอกทดสอบ ซึ่งจะมีระยะในการยกตุ้มเท่ากับ 50 ซม โดยที่เราก็จะทำการนับจำนวนครั้งของการตอกทุกๆ ระยะการทรุดตัวของดินเท่ากับ 20 ซม จากนั้นก็นำค่าที่ทำการจดบันทึกนี้ไปทำการคำนวณหาค่า STANDARD PENETRATION TEST หรือว่า SPT และทำการคำนวณหาค่ากำลังการรับน้ำหนักแบกทานประลัยของดิน หรือค่า ULTIMATE BEARING CAPACITY ตามลำดับนั่นเองครับ

 

เป็นอย่างไรบ้างครับ หากสังเกตดูดีๆ เพื่อนๆ ก็จะพบว่าวิธีการนี้ค่อนข้างที่จะทำได้ไม่ยุ่งยากมากนัก ที่สำคัญคือยังสามารถที่จะช่วยประหยัดได้ทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการทดสอบได้มากอยู่ แต่ ผมก็ต้องขออนุญาตหมายเหตุไว้ตอนท้ายนี้นิดนึงว่า ก่อนที่เพื่อนๆ จะตัดสินใจนำเอาวิธีการนี้ไปใช้ทำการทดสอบดินของเพื่อนๆ ผมอยากให้คำแนะนำไว้ว่า ให้เพื่อนๆ ควรที่จะขอคำปรึกษากับทางวิศวกรผู้ออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างของเพื่อนๆ ดูก่อนว่า ลักษณะต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับสถานที่ก่อสร้างและโครงสร้างของเพื่อนๆ นั้นมีความเหมาะสมในระดับใดที่เพื่อนๆ จะเลือกนำเอาวิธีการๆ นี้ไปใช้ทำการทดสอบได้เพราะหากว่ามีเงื่อนไขเงื่อนไขหนึ่งที่ผ่านเกณฑ์เรื่องความเหมาะสมไป วิธีการนี้ก็อาจจะไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการทดสอบหาค่ากำลังการรับน้ำหนักแบกทานของดินภายในสถานที่ก่อสร้างของเพื่อนๆ นั่นเองครับ

 

ปล ผมต้องขอขอบคุณภาพเจ้าของภาพที่ได้ให้ความกรุณาเผยแพร่ภาพบนอินเตอร์เน็ต ผมจึงขออนุญาตนำรูปดังกล่าวมาใช้ประกอบในโพสต์ๆ นี้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่เพื่อนๆ ทุกคนมา ณ โอกาสนี้ด้วยนะครับ

 

ในครั้งต่อไปผมจะขออนุญาตมาพูดถึงวิธีในการทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกของดินในสนามโดยอาศัยแผ่นเหล็กในการทดสอบต่อก็แล้วกันนะครับ หากว่าเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามรับชมบทความนี้ของผมได้ในสัปดาห์หน้าครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม

#อธิบายวิธีการทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกของดินในสนาม

#วิธีการเจาะหยั่งแบบเบา

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com