ความรู้ทางด้านงานออกแบบ ที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างเชิงพลศาสตร์ต่างๆ

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างเชิงพลศาสตร์ต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

โดยที่หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกับเรื่อง วิธีในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างของอาคารเพื่อใช้ในการต้านทานแรงที่กระทำจากแผ่นดินไหว นั่นเองนะครับ

โดยหากจะพูดกันถึงหัวข้อๆ นี้จะพบว่าเนื้อหานั้นค่อนข้างที่จะมีความยืดยาวมากพอสมควรเลย ผมจึงตัดสินใจที่จะทำการแบ่งออกเป็นตอนๆ โดยที่ในวันนี้จะเป็นตอนที่ 1 ซึ่งจะเป็นการกล่าวถึง หลักวิธีที่เราใช้ในการออกแบบ นะครับ

หากเมื่อใดก็ตามที่เราพูดถึงแรงกระทำที่เกิดจากสภาวะการเกิดขึ้นของแผ่นดินไหว เราจะต้องอาศัยความพยายามสักเล็กน้อยในการที่จะจินตนาการให้ออกว่า แรงชนิดนี้เสมือนเป็นแรงที่เกิดจากการสั่นตัวของพื้นซึ่งจะทำให้อาคารนั้นเกิด การเคลื่อนที่ไปทางด้านข้าง หรือ เกิดการเซขึ้น ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวนี้จะเป็นสิ่งที่บังคับให้โครงสร้างของอาคารที่เรากำลังพิจารณาออกแบบอยู่นั้นเกิดการเคลื่อนตัวไป โดยหากเราจะทำการออกแบบให้อาคารหนึ่งๆ นั้นสามารถที่จะต้านทานต่อแรงกระทำจากการเกิดแผ่นดินไหวให้ได้ เราจะสามารถทำการแบ่งวิธีในการออกแบบออกได้เป็น 2 วิธีหลักๆ นั่นก็คือวิธี FORCE BASED DESIGN หรือที่เรานิยมเรียกสั้นๆ ว่า FBD และวิธี DISPLACEMENT BASED DESIGN หรือที่เรานิยมเรียกสั้นๆ ว่า DBD นะครับ

โดยหากจะทำการเปรียบเทียบกันระหว่างวิธี FBD และ DBD เราจะสามารถพบเห็นถึงข้อจำกัด ข้อดี ข้อด้อย ของการเลือกใช้งานวิธีในการออกแบบแต่ละวิธี ซึ่งก็จะมีความแตกต่างกันออกไปคนละแง่คนละมุม โดยเราอาจเริ่มจาก

1. ค่า DESIGN FORCE หรือ แรงที่ใช้ในการออกแบบโครงสร้างของอาคาร

หากเป็นวิธี FBD ค่าของแรงที่ใช้ในการออกแบบโครงสร้างของอาคารจะอยู่ในช่วง อิลาสติก หารด้วยตัวคูณปรับแก้ 

ส่วนเมื่อเราใช้วิธี DBD ในการออกแบบ ค่าของแรงที่ใช้ในการออกแบบโครงสร้างของอาคารจะอยู่ในช่วง อินอิลาสติก สลับกันนะครับ

2. ค่า DUCTILITY หรือ ความเหนียวของโครงสร้างอาคา

หากเป็นวิธี FBD เราจะทำการตั้งสมมติฐานว่าค่าความเหนียวของอาคารนั้นจะเกิดขึ้นอย่างเพียงพอเพราะเนื่องจากว่าค่าแรงที่ใช้ในการออกแบบนั้นมีค่าที่ค่อนข้างต่ำ 

ส่วนเมื่อเราใช้วิธี DBD ในการออกแบบ เราจะตั้งสมมติฐานว่าค่าระดับของความเหนียวที่อาคารนั้นต้องการจะสามารถกำหนดขึ้นได้จากระยะของการเคลื่อนตัวเป้าหมาย (DISPLACEMENT DEMAND) ที่ทำการตรวจสอบเทียบกันกับสมรรถนะของการเคลื่อนตัวของอาคารนะครับ

3. ค่า STRUCTURAL DAMAGE หรือ ความเสียหายของชิ้นส่วนโครงสร้างของอาคาร

หากเป็นวิธี FBD เราอาจจะสามารถเรียกได้ว่า “หลีกเลี่ยง” ค่าความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้นในชิ้นส่วนโครงสร้างใดๆ ที่มีความสลักสำคัญภายในโครงสร้างหลักของอาคารได้ แต่ ต้องหมายเหตุไว้ตรงนี้ด้วยว่า การทำเช่นนี้เป็นเพียงการ “คาดหมาย” เพียงเท่านั้น หรือ พูดง่ายๆ ก็คือเราไม่สามารถที่จะกล่าวได้ 100% ว่าความเสียหายนั้นๆ จะไม่เกิดขึ้นเลยได้อย่างสนิทใจ 

ส่วนเมื่อเราใช้วิธี DBD ในการออกแบบจะพบว่าเราจะสามารถทำการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อชิ้นส่วนโครงสร้างที่มีสำคัญๆ ได้อย่างสมบูรณ์เพราะในขั้นตอนของการวิเคราะห์โครงสร้างนั้นเราจะสามารถทราบรูปแบบของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับตัวโครงสร้างได้เลยนะครับ

ในสัปดาห์หน้าผมจะขออนุญาตมาทำการพูดถึงเรื่อง การวิเคราะห์แรงแผ่นดินไหว หรือ SEISMIC ANALYSIS กันต่อ โดยหากมีเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษ ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความนี้ของผมได้นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันศุกร์
#การออกแบบวิศวกรรมโครงสร้างต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหว
#หลักวิธีที่ใช้ในการออกแบบวิศวกรรมโครงสร้างต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหว

Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

Mr.Micropile

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449

#ไมโครไพล์ #สปันไมโครไพล์ #เสาเข็มไมโครไพล์ #เสาเข็มสปันไมโครไพล์ #เสาเข็ม #ตอกเสาเข็ม #micropile #spunmicropile #microspunpile #spunpile #microspun