ค่าระยะการทรุดตัวที่ออกมามีค่ามากกว่าค่าที่ยอมให้ซึ่งเท่ากับ 25 mm จะมีวิธีการแก้ปัญหาในลักษณะแบบนี้ได้อย่างไร
ประการแรก ควรที่จะตรวจสอบดูก่อนนะครับว่า จำนวนเสาเข็มที่เราทำการทดสอบทั้งหมดนั้นมีกี่ต้น และ มีกี่ต้นที่ให้ผลออกมาในทำนองนี้ เพราะ จากประสบการณ์ของผมการทดสอบด้วยวิธี DYNAMIC LOAD TEST นั้นถือว่าเป็นวิธีการทดสอบที่ค่อนข้างที่จะมี SENSITIVITY ที่ค่อนข้างสูงมากๆ กล่าวคือ การควบคุมให้ตัวแปรต้นต่างๆ ในการทดสอบนั้นเป็นไปในลักษณะที่มีความสอดคล้องกันนั้นมีความจำเป็นมากๆ ดังนั้นหากผลดังกล่าวเป็นเพียงหนึ่งจากหลายๆ ตัวอย่างที่ทำการทดสอบ เราก็อาจจะถือได้ว่าผลการทดสอบเสาเข็มต้นนั้นๆ อาจที่จะมีความน่าเชื่อถือไม่มากเพียงพอ เพราะฉะนั้นนี่คือเหตุผลว่าเหตุใดผมถึงได้ให้คำแนะนำกับเพื่อนๆ เรื่องจำนวนของเสาเข็มที่เราจะทำการทดสอบนั้นควรมีจำนวนมากกว่า 1 ต้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้จำนวนเสาเข็มเหล่านั้นเป็นตัวแทนของประชากร ตย ที่เรากำลังให้ความสนใจและในที่สุดเราจะสามารถหาผลสรุปจากการทดสอบที่น่าเชื่อถือได้นั่นเองครับ
ประการที่สอง หากตรวจสอบในประการแรกไปแล้วพบว่าเราสามารถที่จะเชื่อถือผลการทดสอบนี้ได้ เราก็ไม่ควรที่จะใช้ SAFE LOAD ตามที่ทำการทดสอบออกมาได้ครับ มิฉะนั้นเสาเข็มอาจเกิดการทรุดตัวที่มากจนเกินไป จนทำให้ในอนาคตโครงสร้างนั้นอาจเกิด DIFFERENTIAL SETTLEMENT ได้นะครับ โดยการแก้ปัญหานี้อาจทำได้หลายแนวทาง เช่น อาจต้องเปลี่ยนสิธีการทดสอบเป็น STATIC LOAD TEST เพื่อที่จะทราบผลการรับ นน ของเสาเข็มโดยละเอียดได้ จะได้ทำการตัดสินใจในขั้นตอนต่อไป อาจทำการกำหนดค่า SAFE LOAD ใหม่ที่เสาเข็มจะสามารถรับได้ เป็นต้น
โดย ตย ที่ผมจะหยิบยกมาอธิบายแก่เพื่อนๆ ในวันนี้ก็คือ การคำนวณหา SAFE LOAD ที่เสาเข็มจะสามารถรับได้จากปผนภูมิการทดสอบด้วยวิธี DYNAMIC LOAD TEST นะครับ
ก่อนอื่นผมต้องอธิบายก่อนนะครับว่าเราสามารถที่จะใช้วิธีการต่อไปนี้ได้ แต่ ก็ควรที่จะทำการทดสอบเสาเข็มซ้ำด้วย เพราะ วิธีการนี้เป็นวิธีการโดยประมาณเพียงเท่านั้นนะครับ ซึ่งอาจจะทำได้รวดเร็วก็จริง จึงควรมีวิธีการโดยละเอียดมารองรับการคำนวณของเราด้วยครับ
มาดูรูป ตย ซึ่งเป็นแผนภูมิที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่า LOAD และค่า DISPLACEMENT ของเสาเข็มที่ผมได้ทำการสเก็ตช์ขึ้นมากันเลยนะครับ
จะเห็นได้ว่าเสาเข็มต้นนี้มีค่า RU เท่ากับ 160 TONS มีค่า DY เท่ากับ 30 mm และมีค่า DX เท่ากับ 35 mm ซึ่งค่าการทรุดตัวที่เกิดขึ้นนี้จะมากกว่าค่าการทรุดตัวที่ยอมให้วึ่งมีค่าเท่ากับ 25 mm ดังนั้นเราจะไม่สามารถระบุได้ว่าค่า RU จากผลการทดสอบนี้จะเป็นค่า นน บรรทุกสูงสุดที่เสาเข้มจะสามารถรับได้นะครับ
วิธีการโดยประมาณในการคำนวณหาค่า RU จริงๆ ของเสาเข็มต้นนี้ก็คือทำการลากเส้นในแกน Y ที่ตำแหน่งค่า DISPLACEMENT นั้นมีค่าเท่ากับ 25 mm เพื่อที่จะดูว่าเส้นดังกล่าวจะมาตัดกับแผนภูมิที่ตรงกับตำแหน่งทางแกน X หรือค่า LOAD เท่ากับเท่าใด ?
ในที่นี้ค่า LOAD ที่ตัดกับค่า DISPLACEMENT เท่ากับ 25 mm จะมีค่าเท่ากับ 150 TONS ดังนั้นเราอาจที่จะอนุมานได้ว่าค่า RU จริงๆ ของเสาเข็มต้นนี้จะอยู่ที่ประมาณ 150 TONS จากนั้นก็ควรทำการทดสอบซ้ำอีกอย่างน้อย 1 รอบ ตามหลักการและเหตุผลที่ผมได้อธิบายกับเพื่อนๆ ไปก่อนหน้านี้ครับ
สุดท้ายนี้ผมอยากจะขอเน้นย้ำกับเพื่อนๆ อีกสักหนึ่งรอบก็แล้วกันนะครับว่ากระบวนการในการทดสอบทางวิศวกรรมโยธานั้นมีด้วยกันหลากหลายวิธีการ
บางวิธีสามารถทำได้รวดเร็ว ค่าใช้จ่ายในการทดสอบก็ค่อนข้างถูก แต่ ก็จะให้ผลการทดสอบที่มีความละเอียดแค่ในระดับหนึ่ง ดังนั้นเราอาจที่จะต้องยุ่งยากในขั้นตอนต้นสักเล็กน้อย เช่น ใช้จำนวนในการทดสอบจำนวนหลายต้นสักหน่อย ทำการเลือก ตย ในการทดสอบที่เหมาะสม ทำการควบคุมตัวแปรต้นต่างๆ ในการทดสอบให้ออกมาดี เป็นต้น
ตรงข้ามกันกับบางวิธีการที่อาจจะต้องใช้เวลาในการทดสอบที่ค่อนข้างมาก อาจจะต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการทำการทดสอบที่ค่อนข้างสูง แต่ ก็จะให้ผลการทดสอบที่มีคววามละเอียดที่ดีมาก ก็เนื่องมาจากการทดสอบด้วยวิธีนี้จำเป็นที่จะต้องอาศัยทรัพยากรต่างๆ ในการทดสอบที่ค่อนข้างมากด้วย
ดังนั้นก็ขอให้เพื่อนๆ มอบหมายความไว้วางใจในการทำการทดสอบนี้ให้แก่ทางวิศวกรที่มีความชำนาญในการทำงานการทดสอบก็แล้วกันนะครับ เพราะ วิศวกรเหล่านี้จะได้ทำการทดสอบและสรุปผลการทดสอบเสาเข็มให้ออกมาตรงตามข้อมูลข้อเท็จจริงแก่เรา เพื่อนๆ จะได้สามารถตัดสินใจใช้งานโครงสร้างเสาเข็มบนพื้นฐานของข้อมูลที่มีความถูกต้องและเหมาะสมได้นั่นเองนะครับ
หวังว่าความรู้ และ ข่าวสารเล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1566194563426663
BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
ทาง
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
ID LINE :
LINE ID1 = bhumisiam
LINE ID2 = 0827901447
LINE ID3 = 0827901448
LINE ID4 = bsp15
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด
http://www.ไมโครไพล์.com
#Micropile
#SpunMicropile
#ไมโครไพล์
#สปันไมโครไพล์
#เสาเข็มไมโครไพล์
#เสาเข็มสปันไมโครไพล์