การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN)
ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาแชร์ความรู้แก่เพื่อนๆ ถึงเรื่องแรงๆ หนึ่งที่ต้องถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในการออกแบบหน้าตัดโครงสร้าง คสล ที่เรามิอาจที่จะละเลยไม่ทำการออกแบบได้ นั่นก็คือ แรงโมเมนต์บิด หรือว่า TORSIONAL MOMENT FORCE นั่นเองนะครับ
แรงโมเมนต์บิดนั้นจะเกิดขึ้นในองค์อาคารก็ต่อเมื่อต้องรับน้ำหนักบรรทุกแบบเยื้องศูนย์ออกห่างจากแนวแกนองค์ของอาคาร เช่น คานโค้ง คานรับพื้นยื่น (ดูรูป CASE A) คานขอบของอาคาร (ดูรูป CASE B) เป็นต้น ซึ่งคานโดยทั่วๆ ไปจะมีแรงโมเมนต์ดัด (FLEXURAL FORCE) และ แรงเฉือน (SHEAR FORCE) เกิดขึ้นอยู่แล้ว ดังนั้นเราจึงอาจทำการสรุปได้ว่า แรงโมเมนต์บิด นั้นมักที่จะเกิดขึ้นร่วมกันกับ แรงโมเมนต์ดัด และ แรงเฉือน และในบางครั้งก็มีโอกาสเกิดเกิดร่วมกันกับแรงตามแนวแกน (AXIAL FORCE) ด้วยนะครับ
เราอาจที่จะสามารถแบ่ง CASE ของ แรงโมเมนต์บิด ที่เกิดขึ้นในชิ้นส่วนโครงสร้าง คสล ทั่วๆ ไป ออกได้เป็น 2 CASE หลักๆ นั่นก็คือ
CASE A: แรงบิดหลัก (PRIMARY TORSION)
แรงบิดหลัก นั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อน้ำหนักบรรทุกภายนอกนั้นถูกรองรับด้วยโครงสร้างที่ทำหน้าที่ต้านทานการบิดเป็นหลักนะครับ ซึ่งสามารถที่จะคำนวณได้ตามสมการสมดุล (EQUILIBRIUM EQUATIONS) จึงอาจเรียกแรงบิดแบบนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า แรงบิดสมดุล (EQUILIBRIUM TORSION) โดยเพื่อนๆ สามารถดู ตย ได้จากรูป CASE A ได้นะครับ ซึ่งน้ำหนักบรรทุกนั้นจะทำให้เกิด แรงโมเมนต์บิด ต่อ ความยาว Mt ที่กระทำบนความยาวของคานที่ทำหน้าที่รองรับซึ่งจะถูกต้านทานให้อยู่ในสภาวะสมดุลโดยแรงโมเมนต์บิด T ที่จุดรองรับที่ปลายคานที่ทำหน้าที่รองรับ นน บรรทุกนะครับ
CASE B : แรงบิดรอง (SECONDARY TORSION)
แรงบิดรอง นั้นจะเกิดจากผลของความต่อเนื่องของชิ้นส่วนโครงสร้างเป็นหลักนะครับ ซึ่งในกรณีเช่นนี้เราไม่สามารถที่จะทำการคำนวณหาค่า แรงโมเมนต์บิด จากสมการสมดุลเพียงอย่างเดียวได้ หรือ เราอาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า แรงบิดเทียบเท่า (COMPATIBILTY TORSION) ในการออกแบบหากว่าเราละเลยความต่อเนื่องของโครงสร้างเราก็มักที่จะพบเจอกับปัญหาการแตกร้าวในชิ้นส่วนโครงสร้าง คสล นะครับ แต่โดยทั่วๆ ไปนั้นกรณีแบบนี้มักจะไม่ได้เกิดขึ้นจนเป็นต้นเหตุทำให้โครงสร้างนั้นวิบัติ ตัวอย่างของ แรงบิดรอง นั้นจะพบในคานที่ขอบที่จะหล่อเป็นเนื้อเดียวกันกับพื้น คสล โดยเพื่อนๆ สามารถดู ตย ได้จากรูป CASE B ได้นะครับ ถ้าหากว่าคาน คสล ของเรานั้นมีความสามารถในการต้านทานแรงบิด และ ได้รับการเสริมเหล็กอย่างถูกต้องและเหมาะสม และ สุดท้ายหากว่าเสานั้นสามารถที่จะต้านทานการบิด T ได้ ค่าโมเมนต์ในแผ่นพื้นจะมีค่าโดยประมาณเท่ากันกับพื้นที่มีจุดรองรับภายนอกเป็นแบบยึดแน่น (FIXED END) นะครับ แต่ หากว่าคาน คสล ของเรานั้นมีความสามารถในการต้านทานการบิดที่ค่อนข้างน้อย และ มีการเสริมเหล็กต้านทานการบิดที่ไม่เพียงพอ ก็อาจที่จะทำให้เกิดการแตกร้าวขึ้นในคาน คสล ซึ่งก็จะทำให้ความต้านทานแรงบิดนั้นยิ่งมีค่าลดลง ค่าโมเมนต์ในแผ่นพื้นก็จะเหมือนกันกับพื้นที่มีจุดรองรับเป็นแบบจุดหมุน (PINNED END) หรือ แบบกึ่งยึดแน่น (PARTIAL FIXED END) นะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1626743734038412
BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
ID LINE :
LINE ID1 = bhumisiam
LINE ID2 = 0827901447
LINE ID3 = 0827901448
LINE ID4 = bsp15