การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE)
ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาตอบคำถามสั้นๆ ง่ายๆ แต่ น่าจะมีประโยชน์ที่เพื่อนของผมท่านหนึ่งเคยสอบถามผมไว้พักใหญ่ๆ แล้วข้อหนึ่ง นั่นก็คือ “หากว่ามีความประสงค์ที่จะทำการขุดและถมดินในบริเวณที่ดินที่ซื้อเอาไว้ อยากที่จะรบกวนให้ผมช่วยทำการอธิบายและเล่าให้ทราบถึงข้อพิจารณาในการทำงานขุดและถมดินให้ได้ทราบได้หรือไม่ครับ ?”
การทำงานการขุดและถมดินเป็นการนำ หรือ เคลื่อนย้ายดินจากแหล่งหนึ่งไปสู่อีกแหล่งหนึ่งเพื่อให้ระดับของดิน ณ สถานที่ใหม่นั้นมีระดับที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิม ซึ่งการกระทำดังกล่าวจะส่งผลต่อหลายๆ เรื่อง เช่น จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ของความลาดเอียงของบ่อดิน ความสูง และ พื้นที่ของเนินดินถึงเขตที่ดินนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น ดังนั้นในความเป็นจริงนั้นข้อพิจารณาก่อนการตัดสินใจว่าจะทำการขุดและถมดินนั้นมีมากมายหลายประการนะครับ แต่ ผมขอสรุปมาเพียง 4 ข้อหลักๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้นะครับ
(1) เราจำเป็นที่จะต้องทราบก่อนว่า จากขนาดของที่ดินที่เรามีความต้องการที่จะทำการถมดินนั้น อยู่ในขอบข่ายที่กฎหมายได้ทำการระบุเอาไว้ว่าต้องทำการขออนุญาตถมดินหรือไม่ ? เพราะ หากว่ากรณีการทำงานของเรานั้นเข้าข่าย ก็ควรที่จะต้องทำการยื่นขออนุญาตทำการถมดินให้มีความถูกต้องตามตัวบทกฎหมายด้วยนะครับ
(2) หากผ่านการพิจารณาตามข้อที่ (1) มาแล้ว เราควรที่จะต้องพิจารณาต่อว่า ชนิดของดินที่จะนำมาใช้ทำการขุดและถมนั้นเป็นดินชนิดใด ? และ ควรที่จะทราบด้วยว่า ระดับของดินที่จะนำมาทำการถมนั้นควรมีระดับสุดท้ายภายหลังจากการที่ปล่อยให้ดินนั้นเกิดการทรุดตัวตามธรรมชาติแล้วอยู่ที่ระดับเท่าใด ? เช่น ดินลูกรัง ดินเหนียว ดินทราย ดินเลน เป็นต้น เพราะ ดินแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติต่างๆ ที่แตกต่างกัน เช่น ความร่วนซุยของดิน ปริมาณน้ำในดิน ปริมาณช่องว่างในดิน เป็นต้น ซึ่งหากว่าข้อสรุปคือระดับของการถมดินในที่ของเรานั้น สูงกว่า ระดับที่ดินของเพื่อนบ้างที่อยู่ข้างเคียง และ จำนวนพื้นที่ของเรานั้นมีค่าเกินกว่า 2,000 ตารางเมตร หรือ ขนาดเป็นไปตามประกาศที่พนักงานในท้องที่ได้ทำการประกาศเอาไว้ เราจำเป็นที่จะต้องทำการจัดการให้มีการระบายน้ำที่มีความเหมาะสมและเพียงพอ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่บริเวณพื้นที่ข้างเคียงนั่นเองนะครับ
(3) เราควรที่จะต้องทราบก่อนว่า จากข้อที่ (1) และ (2) ชนิดและลักษณะของดินที่ต้องการจะทำการขุดและถมนั้น ควรมีวิธีการทำงานแบบใดที่มีความเหมาะสมในการทำงานที่เหมาะสมและสอดคล้องซึ่งกันและกัน ? เพราะ ดินแต่ละชนิดนั้นจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ก็จะทำให้การทำงานดินนั้นย่อมยากง่ายแตกต่างกันเป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้นการจัดการดินด้วยวิธีการที่เหมาะสมจึงเป็นแนวทางที่ควรทำเพื่อให้เกิดความประหยัดและปลอดภัยในการทำงานนะครับ
(4) เราควรที่จะต้องทราบก่อนว่า จากข้อที่ (1) (2) และ (3) ระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการที่จะทำงานการขุดและถมดินนั้นควรเป็นเท่าใด ? เพราะ ระยะเวลาเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ในการพิจารณาทำการใดๆ เช่น เรื่องนี้จะเกี่ยวพันไปยังข้อ (1) คือ เรื่องระยะเวลาที่จะใช้ในการทำงานถมดินที่เราต้องทำการแจ้งลงไปในเอกสารขออนุญาตถมดิน และ หากว่าระยะเวลาในการทำงานถมดินนั้นมากจนเกินไป ก็อาจที่จะก่อความเดือดร้อนต่อชุมชนและสภาพแวดล้อมโดยรอบก็เป็นได้ เป็นต้นครับ
ผมต้องขอขอบคุณรูปภาพจากเว็บไวต์ สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน ด้วยนะครับที่อุตสาห์เผยแพร่รูปภาพดีๆ และ มีประโยชน์ทางด้านการทำงานการขุดและถมดินมาให้แก่พวกเราได้รับชมกันเป็นวิทยาทานด้วยนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1624723450907107
Bhumisiam (ภูมิสยาม)
ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449