ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

 ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

เนื่องจากเมื่อหลายวันก่อนมีเพื่อนของผมท่านหนึ่งได้อินบ๊อกซ์เข้ามาปรึกษากับผมว่า มีปัญหากับการที่ทาง ผู้รรับเหมา นั้นทำงานได้คุณภาพที่ถือว่าแย่มากๆ และพอผมได้ดูรูปที่ได้ส่งมาให้ดูผมถึงกับตะลึงไปเลย ซึ่งหากเพื่อนๆ ได้ดูรูปประกอบในโพสต์ๆ นี้ก็จะเห็นได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ เกิดขึ้นจากการที่ทาง ผรม นั้นขาดการตรวจสอบพิกัดของเสาตอม่อให้ดีและถูกต้องเพียงพอในขณะที่ทำงาน การกำหนดพิกัดและการตอกเสาเข็ม หรือ การก่อสร้างงานฐานราก นั่นเองนะครับ

เมื่อขาดการทำงานในขั้นตอนข้างต้นให้ดี ผลเสียที่จะตามมาก็อย่างที่เห็นในภาพเลยครับ เพราะ เมื่อจะทำการก่อสร้างส่วนของโครงสร้างเสาตอม่อ แต่ พิกัดนั้นไม่ถูกต้องตรงตามที่สถาปนิกและวิศวกรได้ทำการออกแบบเอาไว้ตั้งแต่ทีแรก ผรม ก็เลยตัดสินใจทำการแก้ปัญหาโดยทำการดุ้งเหล็กเสริมหลักในเสาตอม่อ เพื่อให้ตำแหน่งของเหล็กเสริมหลักในเสาตอม่อนั้นสามารถที่กลับมาอยู่ในมีทิศทางและตำแหน่งที่ถูกต้องได้ ซึ่งการแก้ปัญหาด้วยวิธีการดังกล่าวนั้นถือได้ว่าผิดต่อหลักการทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างอย่างรุนแรงมากๆ เลยนะครับ

จริงๆ แล้วหากต้องเจอกับปัญหาแบบนี้ เราสามารถที่จะทำการแก้ไขได้ด้วยหลากหลายวิธีการเลยนะครับ เช่น การตอกเสาเข็มแซม จากนั้นก็ให้ทำการก่อสร้างฐานรากเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งฐาน หลังจากนั้นก็ให้ทำการถ่าย นน ของเสาตอม่อที่ถูกตำแหน่งที่จะต้องทำหน้าที่ในการถ่าย นน มาจากทางด้านบนด้วยการทำ TRANSFER BEAM ผูกเข้าระหว่างตัว ฐานรากเดิม ที่มีการวางตำแหน่งผิดพลาดไป เข้ากันกับตัว ฐานรากใหม่ ที่เราได้ทำการตอกเสาเข็มแซมไป เป็นต้นครับ

ผมต้องขอเป็นกำลังใจให้แก่เพื่อนของผมท่านนี้ด้วยนะครับว่า ในฐานะของวิศวกรเราจำเป็นที่จะต้องช่วยเหลือให้คำแนะนำแก่เจ้าของงาน ทั้งนี้ก็เพื่อให้เสถียรภาพและสมรรถนะของโครงสร้างของอาคารหลังนี้นั้นมีความ คงทน และ มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน สอดคล้อง และ ตรงตาม ที่วิศวกรผู้ออกแบบได้ทำการออกแบบเอาไว้ตั้งแต่ครั้งแรกด้วยนะครับ

ยังไงในโอกาสต่อๆ ไปผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายแก่เพื่อนๆ ได้รับทราบว่า เพราะเหตุใดการดุ้งเหล็กเหมือนกันกับในรูปเหล่านี้นั้นจึงถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ ไม่ควร ทำและ ผิด ต่อหลักการทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างกันบ้างนะครับ เอาเป็นว่าวันนี้เมื่อเพื่อนๆ ได้ดูรูปเหล่านี้แล้ว ก็ขอให้เก็บเอาไปคิด นำไปเตือนตัวเอง และ เก็บเอาไว้เป็นอุทาหรณ์ที่เราไม่ควรที่จะทำตามก็แล้วกันนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันอังคาร
#ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ
#ปัญหาการแก้ไขปัญหาเหล็กเสริมในตอม่อโดยการดุ้งเหล็กที่ผิดหลักการทางด้านงานวิศวกรรมโครงสร้าง

ADMIN JAMES DEAN

Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตามมาตรฐาน ISO 45001:2018
2) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
4) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
5) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
7) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
8) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
9) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
10) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
11) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสีย
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449

#ไมโครไพล์ #สปันไมโครไพล์ #เสาเข็มไมโครไพล์ #เสาเข็มสปันไมโครไพล์ #เสาเข็ม #ตอกเสาเข็ม #micropile #spunmicropile #microspunpile #spunpile #microspun